Topic List
กำลังศึกษาเรื่อง Model View Control (MVC) หลังจากที่เคยอ่านเรื่องนี้มานานเป็นปี ๆ แล้ว และได้นำมาประยุกต์ใช้นิดหน่อย แต่ยังไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้ง เลยขอมานั่งทำความเข้าใจอย่างละเอียดอีกสักรอบ หลังจากนี้ก็จะพยายามรวบรวมเรื่องราวของ Model View Control มาเก็บไว้เรื่อย ๆ
เริ่มกันที่แนวคิดของ MVC ก่อนนะครับ
ในยุคนี้คงไม่มีทางที่เราจะหนีคำนี้ได้พ้นเพราะในการพัฒนาระบบในปัจจุบันขนาดของโครงการจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากความต้องการมีสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการจะพัฒนา software ด้วยตัวคนเดียวเป็นเรื่องยาก จึงมีการประยุกต์ใช้งาน Enterpirse Architecture Pattern อย่าง MVC กันมากขึ้นในทุกๆ platform ด้วยเหตุนี้การจะใช้งาน MVC Framework ตัวใดก็แล้วแต่ไม่ว่าจะเป็น PHP , .NET หรือ Java ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยแนวความคิดที่ถูกต้องจึงจะเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงไม่เช่นนั้นนอกจากจะไม่มีประโยชน์ใดๆ ในการใช้ Framework แล้ว ยังเป็นดภาระในการแก้ไขซึ่งจะทำให้แก้ไขได้ยากกว่าปกติ ดังนั้นจึงเริ่มจากการแนะนำแนวคิดในการแบ่งแยกส่วนของ code ออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ
MVC Archtecture Pattern
Model (M) เป็นส่วนของ Business Logic และ ส่วนของ Entity ซึ่งส่วนนี้จะแตกต่างจากแนวคิดแบบ 3-tier ซึ่งจะแยกส่วนล่างสุดเป็น Data Access Layer (DAL) ซึ่งจะทำหน้าที่ติดต่อกับ Database เท่านั้น แต่ Model จะไม่ได้เป็นเพียงแครการติดต่อกับ Database เท่านั้น แต่ยังรวมเรื่องของ Business Logic ต่างด้วย เช่น การคำนวน VAT 7% หรือการคำนวนค่าต่างให้อยู่ในชั้นนี้ และถ้าจะให้ดีชั้นนี้ควรจะทำการสร้าง Service Layer ขึ้นมา ตรงนี้จะลงรายละเอียดในบทความถัดไป
View (V) เป็นส่วนของการแสดงผลอันนี้ตรงตัวไม่ต้องคิดมาก เป็นส่วนของ HTML ,CSS และ JavaScript ในการทำ Web Application แต่ถ้าเป็น Windows Application ก็จะเป็นพวก forms ต่างๆ ในการใช้งาน PHP Framework บางตัวจะพ่วงเอา Template Engine มาให้ใช้งานด้วย เช่น Symfony จะมี Twig เป็น Template Engine ซึ่งข้อดีของการใช้งาน Template Engine ก็คือจะทำการแยกส่วนของการแสดงผลกับ logic ได้ชัดเจนมากขึ้นคนที่ทำ HTML CSS และ JavaScript ไม่จำเป็นต้องเขียน PHP ได้
Controller (C) ส่วนนี้เป็นส่วนสมองของระบบจะทำหน้าที่คอยควบคุมว่าจะดึงข้อมูลจากไหน (Model ตัวไหน) แล้วก็ไปแสดงผลยังไง (View ตัวไหน) ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่่ผิดกันเป็นประจำสำหรับผู้ที่เริ่มใช้งาน MVC Framework เพราะเป็นส่วนที่เราไม่เคยแยกส่วนนี้มาก่อน ส่วนของ Controller จะเป็น work flow หรือขั้นตอนการทำงานต่างๆ (มีเฉพาะ flow ของการทำงานเท่านั้น) จะไม่มี logic ใดๆในนี้ไม่มีการเขียน HTML ไม่มีการคำนวนค่าต่างๆ หน่าที่ของ Controller มีเพียงแค่รับค่ามาทำการ Validate แล้วส่งเข้าไปที่ Model เท่านั้น
ประโยชน์ของการใช้ MVC ก็คือการเพิ่ม maintainability หรือทำให้ระบบแก้ไขได้ง่ายขึ้นเพราะมันแยกส่วนออกจากกันอย่างชัดเจน อีกข้อนึงที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือเราจะสามารถแยกคนทำงานตามสิ่งที่เค้าถนัด เช่น คนทำ View ไม่ต้องรู้ว่า database มีโครงสร้างยังไง คนที่ทำผั่ง model ก็ไม่ต้องมากังวลเรื่องของการแสดงผล แต่ขอให้ตกลงเรื่องของ data ที่ส่งหากันให้ดีก็พอ
สุดท้ายอาจไม่จำเป็นจะต้อง strict อยู่ในรูปแบบนี้ 100% เพราะนี่เป็นเพียงทฤษฏี แต่ยังไงก็ตามถ้าจะเขียนผิดไปจากนี้ (anti pattern) ก็สามารถทำได้แต่ต้องแน่ใจว่าการทำแบบนั้นมีเหตุผลมากพอที่จะทำ และไม่กระทบกับการแก้ไขในอนาคต
ที่มา : www.irobust.co.th