ก๊วนซอฟท์แวร์ </softganz> SoftGang (Gang Software)

Web &amp; Software Developer Gang.

Topic List

โดย Little Bear on 6 ธ.ค. 56 16:59

เวลาต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน WiFi แล้วมีเครื่องหมาย "ต๊กกะใจสีเหลือง" ที่ WiFi icon แล้วมักจะหาทางแก้ไม่ตกสักที ใช้เวลาเยอะมาก ลองโน่นลองนี่ไปเรื่อย บางครั้งก็แก้ได้ บางครั้งก็แก้ไม่ได้ แล้วแต่ละครั้งที่แก้ได้ ก็ไม่สามารถสรุปวิธีการแก้ปัญหาได้สักที

วันนี้ก็เจออีกแล้ว พอสั่ง connect WiFi ก็ต่อไม่ได้ พอต่อได้ก็เจอ Internet access limit ผ่านไปเกือบชั่วโมง จนในที่สุด ลองลบ WiFi connection (ที่เคยบันทึก key ไว้แล้ว) ทิ้งไป แล้วเริ่มต้น connect ใหม่

ผลปรากฏว่าใช้ได้แงะ ก็ยังไม่รู้ว่าจะใช้ได้ทุกครั้งหรือไม่? ไว้เจอปัญหานี้อีกที จะลองแก้ด้วยวิธีนี้ดู แล้วค่อยสรุปวิธีแก้ปัญหา

วิธีแก้ : ลบ WiFi connection แล้วเริ่ม connect และป้อน key เข้าไปใหม่

ปล. ด้านล่างนี้เป็นวิธีแก้ปัญหาจาก Wireless connection limited access only on my computer

  1. Use other adapter D-link; it's still not connected. Same problem. But no problem at all on other computer with windows 7 as well.
  2. Use static IP; not working
  3. cmd ipconfig /all; it doesn't mention about wireless at all.
  4. services.msc basically reseting WLAN autoconfig
  5. Use windows setting instead of smart wizard
  6. Change password encryption in router and restart it
  7. Reinstall the drivers
  8. Update the windows again (new update)
  9. Connect to other router
  10. ipconfig /dnsflush and /renew
โดย Little Bear on 5 มิ.ย. 56 20:13

แนวโน้มของ internet โดย John Doerr แกนนำชื่อดังคนหนึ่งของ KPBC

KPCB Internet Trends 2013 from Kleiner Perkins Caufield & Byers

Source: KPCB

ที่มา isriya.com

โดย Little Bear on 3 เม.ย. 55 11:20

บริการใหม่จาก AIS คือ Airnet ส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตผ่าน GSM มาถึงบ้านเราเลย แถมความเร็ว Upload/Download 7/7 mbps เสียด้วย

ลองดูแพคเกจและบริการ

แถมพื้นที่ให้บริการก็ครอบคลุมถึงบ้านผมเสียด้วย

ลองอ่านจากรีวิวนะครับ

โดย Little Bear on 27 พ.ค. 54 20:51

คู่มือฉบับย่อ เพื่อการสื่อสารอย่างปลอดภัย แปลจากเอกสารของโครงการ Security-in-a-box โดยเน้นความปลอดภัยในการใช้งานคอมพิวเตอร์ การสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ และการรักษาข้อมูลส่วนตัว

ครอบคลุมเนื้อหา 6 ส่วน "อินเทอร์เน็ตทำงานอย่างไร", "ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย", "เชื่อมต่อเครือข่ายสังคมอย่างปลอดภัย", "ใช้โทรศัพท์มือถืออย่างปลอดภัย", "ปกป้องอีเมลให้ปลอดภัย", "รหัสผ่าน: การป้องกันด่านแรก" แต่ละส่วนจบใน 1 หน้ากระดาษ A4

ดาวน์โหลด: สำหรับพิมพ์ลงกระดาษ A5 | สำหรับพิมพ์ลงกระดาษ A4 | ต้นฉบับ OpenDocument Text

"คู่มือฉบับย่อ" หรือ "flash cards" นี้สามารถพิมพ์ลงกระดาษ A5 หน้า-หลัง ได้รวม 6 แผ่น เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการอบรม แปลไทยโดย เครือข่ายพลเมืองเน็ต สนับสนุนโดย Internews เนื้อหาต้นฉบับภาษาอังกฤษ โดยโครงการ Security-in-a-Box ซึ่งเป็นโครงการโดย Tactical Technology Collective และ Front Line

สำหรับคู่มือฉบับเต็ม ทางเครือข่ายพลเมืองเน็ตกำลังจัดทำอยู่ โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์

Attachment

ที่มา เครือข่ายพลเมืองเน็ต | Thai Netizen Network

โดย Little Bear on 3 ส.ค. 53 10:32

เป็นภาพ ใหญ่และยาวมาก ๆ ลองอ่านดู ผมอ่านผ่าน ๆ ก็พอเห็นอะไรบางอย่าง ดูเองแล้วกัน อยู่ในรายละเอียด

โดย Little Bear on 6 ธ.ค. 49 10:15

วันนี้ได้ไปอ่านกระทู้ ทำไม ip ต้องเป็น 192.168.1.x คะ เห็นว่าเป็นเรื่องน่าสนใจ ผมก็สงสัยเหมือนกัน เลยเอามาลงเก็บไว้ เป็นอ้างอิงวันเลังได้ครับ.

โดย Little Bear on 22 ส.ค. 49 14:12

นอกจากการคัดเลือกบุคคลแห่งปีที่มีอิทธิพลต่อความคิดของผู้อ่านสูงแล้ว นิตยสารไทม์ยังคัดเลือกเว็บไซต์แห่งปี 2006 ด้วย โดยในปีนี้

ไทม์รายงานเว็บไซต์ที่มีความน่าสนใจในหลากหลายรูปแบบและเนื้อหาจำนวน 50 เว็บไซต์เช่นเดิม

แมรี่แอน เมอร์เรย์-เบิร์ชเนอร์ ผู้สื่อข่าวของนิตยสารไทม์กล่าวว่า "เราคัดเลือกมาจากหลายร้อยเว็บไซต์ตามความน่าสนใจ บางคนผู้อ่านก็แนะนำมา หรือไม่ก็เพื่อนของเราแนะนำมา รวมถึงการลองเสิร์ชด้วยตนเองอีกนับครั้งไม่ถ้วน"

ทั้งนี้ ไทม์เริ่มจัดเว็บไซต์แห่งปีมาตั้งแต่ปี 2003 โดยในครั้งแรกที่จัดนั้นมีเว็บไซต์ยอดนิยมของนักท่องเน็ตทั่วโลกติดโผมามาก มาย ทั้ง Ebay, Hotmail, Paypal และ Google

เป็นที่น่าสังเกตว่า เว็บไซต์แห่งปี 2006 นี้เกือบทั้ง 50 เว็บไซต์ส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยี web 2.0 sites ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เปิดพื้นที่ให้ผู้ใช้สามารถสร้างสรรค์และแชร์เนื้อหา ออนไลน์ได้ แตกต่างจากเว็บไซต์ดั้งเดิมที่เปิดให้เข้าชมเนื้อหาเพียงอย่างเดียว

"เว็บไซต์ในยุคใหม่เป็นการเปลี่ยนแปลงความบันเทิงและความรู้ในรูปแบบ ใหม่ เป็นแหล่งรวมเนื้อหาที่ผู้ใช้สามารถดู สร้างสรรค์ แบ่งปัน หรือพูดคุยได้ทุกรูปแบบ ตั้งแต่การโพส blog ไปจนถึงวิดีโอคลิป" แมรี่แอนเขียนไว้ในไทม์

สำหรับเว็บไซต์แห่งปีทั้ง 50 เว็บนั้น ไทม์แบ่งออกเป็น 7 หมวดหมู่ได้แก่

1.บันเทิง ศิลปะและสื่อ

หมวดนี้มีทั้งหมด 9 เว็บไซต์ คือ Drawn!, Jumpcut, Sundance Splinks, Wolfgang's vault, Photo Muse, Podcast Pickle, Pandora, The 9 และ Youtube สำหรับหมวดนี้ที่น่าสนใจที่สุดก็คือ Pandora ซึ่งไทม์ระบุว่า สามารถสร้างสถานีวิทยุส่วนตัวของตนเองได้ รวมถึง Youtube แหล่งรวมคลิปวิดีโอ ที่ว่ากันว่าเยอะที่สุดและมีหลายคลิปที่หายากที่สุดในเวลานี้

2.ช็อปปิ้ง ไลฟ์สไตล์ และงานอดิเรก

หมวดนี้มี 7 เว็บไซต์ ได้แก่ Zunafish, Delicious Days, Mighty Goods, Not Martha, Kids-In-Mind, Phone Scoop และ Shop Intuition หมวดนี้ ใครชื่นชอบเทคโนโลยีมือถือ ลองแวะเข้าชมที่ Phone Scoop อ่านบทวิจารณ์โทรศัพท์มือถือแต่ละรุ่น หรือไม่ก็ Kids-In-Mind ที่วิพากษ์ภาพยนตร์ชนโรงในแง่มุมที่เกี่ยวกับเซ็กส์และความรุนแรง พ่อแม่ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานควรเข้าชม

3.ข้อมูลข่าวสาร

มีทั้งหมด 8 เว็บไซต์ Digg, Footnoted, The Morning News, Charity Navigator, Deadspin, Kevin Sites in the Hot Zone, The Human Clock และ Tailrank สำหรับคนที่ติดตามข่าวสารจากทั่วโลกไม่ควรพลาด The Morning News ที่มีทั้งข่าวหนัก ข่าวเบา และข่าวแปลกประหลาดรอบโลกให้เลือกอ่าน ขณะที่เว็บไซต์ The Human Clock ก็มีภาพสวยๆ จากทุกมุมโลก โดยช่างภาพทั้งสมัครเล่นและมืออาชีพให้ชมกัน พร้อมอัพเดตทุกนาที

4.สังคม

เว็บไซต์สำหรับการติดต่อสื่อสารมีทั้งหมด 5 เว็บไซต์ Dodgeball, MySpace, Meebo, SingShot และ Google Spreadsheets ที่น่าจะคุ้นหูคุ้นตาคนไทยมากที่สุดก็คือ MySpace แหล่งรวมผู้คนจากทั่วโลกที่มีสมาชิกกว่า 100 ล้านคน มีทั้งเนื้อหาส่วนตัวหลากหลายรูปแบบ และการติดต่อสื่อสารเพื่อ "หาเพื่อน" ออนไลน์ สำหรับ Google Spreadsheets ก็เป็นอีกหนึ่งบริการของกูเกิลที่เจาะตลาดธุรกิจขนาดเล็ก เป็นโปรแกรมจัดการข้อมูลคล้ายกับ excel ของวินโดวส์

5.ฆ่าเวลา

เว็บไซต์สำหรับการผ่อนคลายมีทั้งหมด 6 เว็บไซต์ ได้แก่ Number Logic, TMZ, Cute Overload, Jackson Pollock by Miltos Manetas, Shockwave และ Yu-Gi-Oh Groove คนที่สนใจบันเทิงต่างประเทศลองแวะเข้าชมที่ TMZ หรือถ้าอยากฆ่าเวลาไปอย่างเพลิดเพลิน ก็ลองเล่นเกมแฟลชที่มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบใน Shockwave

6.ท่องเที่ยวและอสังหาริมทรัพย์

หมวดนี้ประกอบไปด้วย 7 เว็บไซต์ คือ Yelp, Zipcar, Kayak, Zillow, Central Park, Farecast และ Hop Stop สำหรับหมวดนี้ดูจะไม่ค่อยเหมาะกับคนไทยเท่าใดนัก เว้นแต่ว่าใครมีโปรแกรมบินไปท่องเที่ยวในสหรัฐ โดยเฉพาะรัฐทางตะวันตกอย่างนิวยอร์กและวอชิงตัน

7.เว็บเสิร์ช

หมวดสุดท้ายมีทั้งหมด 8 เว็บไซต์ Snap, Seamless Web, Accoona, Pixsy, Argali White & Yellow, Kosmix, Blurb และ McAfee SiteAdvisor ว่ากันว่า เว็บเสิร์ช Snap จะก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งสำคัญของกูเกิล ด้วยระบบการค้นหาที่แม่นยำ ละเอียดและรวดเร็ว ขณะที่ Pixsy เป็นเว็บไซต์สำหรับการค้นหาภาพที่คุณต้องการ

ใครที่ต้องการเข้าสุดยอดเว็บไซต์ของไทม์เหล่านี้ อย่าลืมพิมพ์ชื่อลงในเว็บเสิร์ชก่อนนะครับ เพื่อหาแอดเดรสของแต่ละเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ.

ข่าว : ไทยโพสต์