วิธีพรีเซ้นท์ของ Steve Jobs
ผมรู้ตัวเองมาตลอดว่าเป็นคนนำเสนอไม่เก่ง ถึงขั้นไม่ได้เรื่อง คงมาจากเหตุหลาย ๆ ด้าน เช่น สรุปประเด็นไม่เก่ง เรียงประเด็นนำเสนอไม่ได้ ให้เวลากับการเตรียมตัวนำเสนอน้อย ข้อมูลไม่แน่น ฯลฯ
ได้ไปอ่านบทความจาก blog ของคุณพัชร เรื่อง วิธีพรีเซ้นท์ของ Steve Jobs เลยขออนุญาตนำมาเก็บไว้เพื่อให้ตนเองได้ระลึกและฝึกฝนตนเองให้ดียิ่งขึ้น
เรื่องราวที่คุณพัชรกล่าวไว้มีอย่างนี้
วิธีพรีเซ้นท์บท YouTube อันนี้ทำได้เข้าใจง่ายดี
หลายคนคงเคยดู presentation zen มาแล้ว แต่ทุกวันนี้เราก็มีโอกาสพรีเซ้นท์กันมากขึ้นในยุคกูรูอุปโลกครับ ดังนั้นมาทวนกันหน่อยก็ไม่เสียหาย (บทความ fwd มาจากเพื่อนชื่อ Bhasidt Chaiwatsophon สวนกุหลาบ 113 ถ้าคนแปลตัวจริงอ่าน บอกผมด้วยนะครับ ผมพยายามหาแล้วนะ -_-)
วิธีพรีเซ้นท์ของ Steve Jobs
องก์ที่ 1 : สร้างเรื่องราว
วางแผนแบบ Analog
- การนำเสนอต้องเริ่มบน "กระดาษและปากกา"
ใช้เวลา 90 ชั่วโมงสำหรับการนำเสนอ 1 ชั่วโมง และความยาวสไลด์ไม่เกิน 30 หน้า และจงใช้เวลาสร้าง slide เพียง 1/3 ของเวลาทั้งหมดเท่านั้น (ใช้เวลา 27 ชั่วโมงสำหรับการค้นคว้าความรู้จาก "ผู้เชี่ยวชาญ" เรียบเรียงไอเดีย ประสานงานกับเพื่อนร่วมงาน และร่างโครงร่างในการนำเสนอ)
สิ่งที่จะสร้างจินตนาการให้ผู้ฟังคือ "เรื่องราว" ไม่ใช่ "slide"
Bullet & numbering ไม่ใช่สิ่งที่ทำให้ผู้ฟัง "จดจำและนำไปปฏิบัติ" (หากอยากใช้เอาไปใช้เอง ในเรื่องรายการของที่จะซื้อในชีวิตประจำวัน)
องค์ประกอบสำหรับการนำเสนอที่ดี
- Headline - ไอเดียที่อยากให้ผู้ฟังจำ ทำให้ง่าย (ไม่ควรเกิน 140 ตัวอักษร)
- คำประกาศที่มาจากใจรัก - มีอารมณ์ร่วม หรือรักในสิ่งที่จะพูด (ต้องมี passion ก่อน)
- ข้อความหลัก 3 คำ - เพราะผู้ฟังจะจำได้แค่ 3-4 คำ เท่านั้น
- ใช้การเปรียบเทียบและอุปมาอุปไมย - เพื่อช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจแนวคิดของเรา
- มีการสาธิต (Demonstration) - เลือกสาธิตสิ่งที่น่าสนใจที่สุดให้เห็น แทนที่จะมานั่งอธิบาย
- หุ้นส่วน (Partner) - แบ่งปันพื้นที่หรือเวทีให้ Partner เราเสมอ (ไม่จำเป็นต้องโชว์เดี่ยว)
- หลักฐานจากลูกค้า - สิ่งที่ผู้คนเชื่อสุดคือ "Word of Mouth", เอาคำพูดลูกค้ามาเป็นส่วนในการนำเสนอ
- Video Clip - ควรจำว่าความยาวเฉลี่ยของคลิปใน YouTube คือ 2.5 นาที
- ใช้ Presentation หรืออุปกรณ์ประกอบ และดูก่อนแล้วค่อยเล่า (Show-and-Tell) - เหตุผล "โดยมากมนุษย์จะเรียนรู้จากการดู, ฟัง และสัมผัส - แต่จะใช้ "ดู" มากที่สุดก่อน" ข้อควรจำ - slide หรืออุปกรณ์เล่าเรื่องราวไม่ได้ คนเล่าเรื่องราวคือ "คุณ" เท่านั้น
ตอบคำถามที่สำคัญที่สุด
- เริ่มต้นที่ "สร้างประสบการณ์กับลูกค้าก่อนแล้วค่อยย้อนกลับมาที่สินค้าของเรา"
- Focus ที่การขาย "ประโยชน์ของสินค้า" ไม่ใช่ "ตัวสินค้า"
- หลีกเลี่ยงการพูดถึงแต่เรื่องของตัวเอง และคำศัพท์เฉพาะกลุ่ม
- ตอบคำถามให้ชัดเจนที่สุดระหว่างนำเสนอ (มีการกล่าวย้ำซ้ำๆ แบบเนียนๆ อย่างน้อย 2 ครั้ง)
ตั้งจุดมุ่งหมายให้สูงที่สุด
- "ทำตามใจรักของคุณ ทำในสิ่งที่คุณรัก แล้วเงินทองจะตามมาเอง คนส่วนใหญ่ไม่เชื่อในเรื่องนี้ แต่มันเป็นความจริง" - Oprah Winfrey
- ต้องมี "มาดเสน่ห์ของความเป็นผู้นำ", "คิดให้แตกต่าง"
- "แม้คุณจะประสบความสำเร็จทางการเงินในงานที่คุณเกลียดได้ แต่จำไว้คุณไม่มีวันเป็นนักสื่อสารที่จะจุดประกายให้กับคนอื่นได้เลย ความมีใจรัก คือจุดมุ่งหมายสูงส่งที่อยากจะทำให้โลกนี้น่าอยู่มากขึ้น สร้างความแตกต่างให้กับทุกอย่าง" - Carmine Gallo
คิดคำพาดหัวในแบบเดียวกับการเขียน Twitter
- น้อยกว่าเท่ากับ 140 ตัวอักษรสำหรับ Headline/vision/product or services (ตรงประเด็น จำง่าย และนำเสนอประโยชน์ส่วนบุคคล) ตัวอย่าง - "1,000 เพลงในกระเป๋าคุณ"
- เอา Headline ของคุณมาใช้ซ้ำๆ แบบเนียนๆ ในการสนทนา และวัสดุทางการตลาดต่างๆ " presentation, publication, clipping-news หรือ website เป็นต้น
- "Headline เป็นคำประกาศวิสัยทัศน์ในอนาคตที่ดีกว่าเดิมของผู้ฟัง ไม่ใช่ คุณ"
เขียนแผนที่เส้นทาง (Roadmap)
- ใช้กฎกลุ่มละ 3 ในการนำเสนอ เช่น Agenda มี 3 ข้อหลัก หรือ แบ่งการสาธิตใดๆ เป็น 3 ช่วง (เหตุผล - นักวิทยาศาสตร์บอกว่าเราสามารถจดจำตัวเลขได้ดีเพียง 3-4 หลักเท่านั้น)
- ไม่ว่าจะมีไอเดียในการนำเสนอเยอะแค่ไหน ให้จำไว้ "จัดกลุ่ม" มันเป็น 3 กลุ่ม แล้วนำมันไปอธิบาย Roadmap ในการนำเสนอของคุณ
- เพิ่มวาทศิลป์ในแต่ละข้อความ เช่น ใช้หลักเปรียบเทียบ อุปมาอุปไมย หรือเสียงสนับสนุนจากบุคคลที่ 3
เปิดตัวศัตรู (Competitor/Problem)
- "Problem + Solution = Classical of Steve jobs"
- "ไม่มีใครจะมาสนใจว่าสินค้าจะดีแค่ไหนอย่างไร พวกเขาใส่ใจเฉพาะสิ่งที่จะมาแก้ปัญหาของเขา และช่วยทำให้ชีวิตของเขาสบายขึ้นเท่านั้น"
- ตอบข้อความเหล่านี้ให้ได้ (1) คุณกำลังทำอะไร? (2) คุณจะแก้ปัญหาอะไร? (3) คุณแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร? (4) ทำไมฉันต้องใส่ใจคุณด้วย?
เปิดตัวฮีโร่ (Solution)
- พยายามอธิบายปัญหาและทางแก้ไขให้ได้ใน 30 วินาที
- หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูล สถิติ และศัพท์เฉพาะที่อาจทำให้ผู้ฟังอาจเกิดอาการสมองชาระหว่างนำเสนอ
- เคารพกฎ 10 นาที - ให้สมองของผู้ฟังได้พักบ้าง (ผู้ฟังจะลดความตั้งใจฟังหลังฟังไป 10 นาที)
องก์ที่ 2 : ส่งมอบประสบการณ์
เปิดช่องทางให้กับความเป็นเซ็นที่อยู่ภายใน
- "ความเรียบง่ายคือสุดยอดของความลึกล้ำ" - Leornado Davinci
- "No Bullet" เน้นภาพ และเรียบง่าย
- "Multimedia Presentation Principle" - นำเสนอคำพูดพร้อมรูปภาพ
- "Contiguity Principle" (หลักการอยู่ชิดติดกัน) - วางข้อความและภาพให้ชิดติดกันดีกว่าแยกกัน
- "Split-Attention Principle" (หลักการแบ่งความตั้งใจ) - อย่าให้ผู้ฟังมาอ่านข้อความบนจอเอง ให้เล่าให้ฟัง (ไม่ใช่อ่านให้ฟัง)
- "Coherence Principle" (หลักการสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียว" เมื่ออธิบายด้วยสื่อผสม การใช้ข้อความและรูปภาพน้อย จะดีกว่าการใช้ข้อความและรูปภาพมากเกินไป (อย่าใส่ข้อความหรือรูปในทุกๆ พื้นที่ของ slide)
ตกแต่งตัวเลขของคุณ
- "เฉพาะเจาะจง ตรงประเด็นและสอดรับบริบท เช่น iPhone 3Gs เร็วเป็นสองเท่าด้วยราคาครึ่งเดียว เป็นต้น
- จำไว้ "ตัวเลขที่คุณนำไปใช้เสนอจะมีผลต่อผู้ฟังไม่มาก เว้นแต่คุณจะทำให้มันมีความหมายขึ้นมาได้" "ตัวเลขที่ปราศจากบริบทนั้นไม่สามารถสร้างความประทับใจใดๆ ได้"
ใช้ศัพท์แสงที่สะใจ
- เช่น วิธีที่จ็อบส์อธิบายการโหลดเพลงลง iPod, นิตยสาร Fortune, Nov 2001 - "เสียบมันเข้าไป…อืมมมม…เสร็จแล้ว…"
- เลือกใช้ถ้อยคำที่สะท้อนบริการ Brand หรือสินค้าออกมาได้ดีที่สุด (แต่หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เฉพาะวงการ)
- "สนุกสนานกับการใช้ถ้อยคำ และแสดงออกถึงความตื่นเต้นกระตือรือร้นต่อสินค้าที่กำลังนำเสนอ"
แบ่งปันเวที
- จำไว้ "สมองต้องการความหลากหลาย" จำไว้ไม่ว่าคุณจะเก่งหรือดังแค่ไหนก็ไม่อาจทำให้ผู้ฟังจดจ่ออยู่ได้นานโดยไม่เหลือบไปมองนาฬิกาเลย
- สิ่งที่คุณไม่รู้ดี - แบ่งปันเวทีให้คนอื่น ไม่จำเป็นต้อง Solo คนเดียวทั้งหมด
- กล่าวขอบคุณ "เพื่อนพนักงาน Partner และลูกค้าของคุณต่อสาธารณะเสมอ"
ใช้อุปกรณ์ในการนำเสนอของคุณ
- เกณฑ์การสาธิตที่ดี คือ สั้น-เรียบง่าย-ตรงจุด-กระชับ-ได้สาระ
- ให้บางสิ่งบางอย่างกับผู้ฟังให้ได้เรียนรู้ทั้ง - ดู/ฟัง/สัมผัส
เปิดช่วง "โอ้แม่เจ้า"
- "ผู้คนจะลืมสิ่งที่คุณพูด ผู้คนจะลืมสิ่งที่คุณทำ แต่ไม่มีวันลืมความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากคุณ" - Maya Angekou
- ใช้การเล่าเรื่องของคุณ เปิดเผยข้อมูลใหม่ๆ ที่ผู้ฟังคาดไม่ถึง หรือใช้การสาธิตที่จะสร้างความทรงจำที่ดีให้กับกลุ่มผู้ฟัง
- "นวนิยายที่ดีจะไม่เผยพล็อตเรื่องทั้งหมดออกมาแต่แรก แต่จะค่อยๆ เปิดเผยออกมาทีละน้อยอย่างน่าติดตาม ตามลำดับ"
องก์ที่ 3 : ขัดเกลาและฝึกซ้อม
เทคนิคการครองเวที (ควรเปิด YouTube ดูการนำเสนอของ Jobs)
- ลักษณะเด่นที่ทำให้จ๊อบส์ครองเวทีในการนำเสนอได้ คือ ทีท่าที่น่าเกรงขาม น้ำเสียง ท่าทาง และภาษากายที่บ่งบอกถึงอำนาจ ความมั่นใจ และพลัง
- "เน้นคำสำคัญในทุกย่อหน้า และเน้นเป็นพิเศษกับคำที่สำคัญที่สุดในประโยค รวมถึงออกท่าทางและใช้มือประกอบการพูด (Body Language)" - ลองหา clip ใน YouTube ของ Steve Jobs
เทคนิค 3 ประการที่จะช่วยพัฒนาภาษากาย (Body Language)
- "สบตา" - สบตากับผู้ฟัง และอ่านข้อความจาก slide หรือ Note ที่จดมาให้น้อยที่สุด (ต้องฝึกมากหากอยากทำได้เนียน)
- "ยืนในท่าเปิด" - อย่าไปยืนหลังโพเดียม หรือเอามือมาประสานไว้ข้างหน้า "การยืนในท่าเปิด" หมายถึง ต้องไม่นำอะไรมาขวางกันระหว่างผู้นำเสนอกับผู้ฟัง
- "ใช้มือประกอบการพูด" - การทำให้มือสองข้างอยู่นิ่งๆ ไม่ขยับไปไหนเลยทำให้คุณดูแข็ง เกร็ง และเป็นงานเป็นการมากเกินไป และบางทีอาจทำให้คุณดูแปลกได้
- มีงานวิจัยสนับสนุนว่า "นักพูดที่มีความสามารถพิเศษเหนือผู้อื่นมักจะออกท่าทางมากกว่าผู้พูดทั่วไป (McNeill, 1980)
- อย่างไรก็ตามต้องฝึกฝนให้ออกท่าทางงอย่างเป็นธรรมชาติ และไม่เยอะเกินไปหรือน้อยเกินไป
การพูดอย่างมีสไตล์ - เล่าเรื่องให้ได้ด้วยน้ำเสียง และอารมณ์ที่เหมาะเจาะ สิ่งที่ต้องคำนึง
- เสียงสูง-ต่ำ - อย่า monotone
- มีการหยุดเว้นช่วง - การสร้างอารมณ์ได้ดีคือหยุดเว้นช่วงในจังหวะที่เหมาะสม
- ระดับความดังของเสียง - ตัวอย่างของ Jobs
- มักใช้เสียงดังเร้าอารมณ์เมื่อเปิดตัวสินค้าใหม่มาแรง
- ใช้การลดเสียงให้ค่อยในช่วงการสร้างความอยากรู้อยากเห็นก่อนประกาศเรื่องสำคัญ และเร่งเสียงให้ดังขึ้นเมื่อมาถึงจุดสำคัญ
- ระดับความเร็ว - พูดเป็นความเร็วปกติ แต่พูดให้ช้าลงเมื่อถึง "Headline" และ "ข้อความที่สำคัญ"
- วิธีการฝึกที่ดี - ให้บันทึกการพูดของตัวเองไว้ เพื่อดูการพูดและ Body language (การฟังวิธีการพูดของตัวเองคือวิธีการที่ดีที่สุดในการพัฒนาการนำเสนอของคุณเอง"
ทำให้มันดูเป็นเรื่องง่าย
- การฝึกซ้อมเพื่อการพัฒนา คือ หัวใจสำคัญที่สุด
- ฝึกตอบคำถามที่ไม่รู้ล่วงหน้า
- คิดคำถามที่น่าจะถูกถามให้มากที่สุด
- แยกประเภทคำถามที่คิดขึ้นมาได้
- หาคำตอบที่ดีที่สุดแยกตามประเภทคำถามที่ถูกแยก
- ฟังคำถามให้ดี จับคำหลักให้ได้
- สบตาผู้ถามพร้อมตอบด้วยความมั่นใจ
แต่งกายให้เหมาะสม
- ใส่เสื้อผ้าให้เหมาะกับกาลเทศะและสถานที่ (ข้อคิด - ผู้นำที่ยิ่งใหญ่จะแต่งตัวดีกว่าคนในห้องเล็กน้อย)
- แต่งตัวให้เหมือนผู้นำที่คุณอยากเป็น ไม่ใช่ตำแหน่งที่คุณเป็น
โยนสคริปต์ทิ้งไป
- "อย่าอ่าน Note เวลานำเสนอ!!!"
- 5 ขั้นตอนในการโยนสคริปต์ทิ้งไป
- เขียนไอเดียแบบเต็มประโยคในช่อง Note ใน PowerPoint อย่างง่ายๆ เอาให้ง่ายอย่าให้เกิน 4-5 ประโยค
- Highlight ข้อความสำคัญ และ "ซ้อมๆๆ"
- หลังซ้อมๆๆๆ ให้กลับมาลบข้อความส่วนเกินใน Script ทิ้งไป ให้เหลือเพียงข้อความสำคัญเพื่อเตือนความทรงจำเท่านั้น
- จำไว้ "1 ไอเดียสำคัญ ต่อ 1 slide เท่านั้น"
- สุดท้ายฝึกซ้อมการนำเสนอทั้งหมดโดยไม่ใช้ Note อาศัยแค่ slide เป็นตัวบอกบท ซ้อมพูดแต่ละ slide อย่างน้อย 4 ครั้ง
สนุก
- เข้าใจคำว่า "สาระบันเทิง" = สาระ + บันเทิง (เคล็ดลับ - ขอให้สนุกกับมันก่อน แล้วสาระบันเทิงก็จะตามมาเอง)
- หากเกิดปัญหาขึ้นระหว่างที่เรานำเสนอ "ไม่จำเป็นต้องบอกขอโทษ" แต่ให้ยอมรับว่ามีปัญหา ยิ้ม และเดินหน้าต่อไป (อย่าทำให้รู้สึกเป็นเรื่องใหญ่) - หมายเหตุ : ลองดู YouTube การเปิดตัว iPhone ในงาน Mac World 2007 ตอนที่พูด Market Opportunity ดูว่าจ็อบส์ทำอย่างไรตอน slide ค้าง
- เปลี่ยนมุมมองของคุณใหม่เสีย เมื่อมีบางอย่างไม่ได้เป็นไปตามแผนการที่วางไว้ ก็ไม่จำเป็นว่ามันคือ "ความผิดพลาด" จงรักษาภาพใหญ่ในการนำเสนอไว้ สนุกสนาน และปล่อยให้เรื่องหยุมหยิมผ่านไป
steve jobs present
ที่มา ipattt.com
Relate topics
- เทคนิคการพ่วงแบต
- งานของวิศวกร
- อยากมีสวนผักแบบนี้
- สิ่งที่ฟรีแลนซ์ต้องเขียนในใบสัญญา
- ไม่ต้องยืนทำงานก็ได้ แต่ขอโต๊ะทำงานโค้ง ๆ ใหญ่ ๆ
- 10 วิธีที่ฟรีแลนซ์ก็สามารถทำเพื่อให้ผู้ร่วมงานของเราไม่มีวันลืมได้เช่นกัน
- The Big History Project
- หาดใหญ่มี 4G แล้ว
- Photo voice
- ไฟดับอีกแล้ว
- ปรับ Theme
- ไฟดับทั้งภาคใต้ ข้าพเจ้ากลับไม่ตื่นตระหนก
- บ้านไม้พาเลท กับแผงโซล่าเซลล์ รักษ์โลกฝุดๆ
- แผนพัฒนาภาคใต้
- สะพานไม้หมาก
- เงา
- เงื่อน
- ร้องให้สุดคำ รำให้สุดแขน
- My Song
- ของขวัญปีใหม่'55 Lenovo Z470