นำเสนอ(ร่าง)โครงร่างวิทยานิพนธ์
โครงร่างวิทยานิพนธ์ Crowdsourcing
หมายเหตุ กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาโครงร่าง คงใช้เวลาอีกพอสมควรจึงจะได้โครงร่างที่สมบูรณ์
การพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในเครือข่ายสังคมออนไลน์
(Health Information System Development With Participation By Social Networking)
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
กระแสโลกยุคใหม่ในทศวรรษที่ 21 ได้ก้าวเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเต็มรูปแบบโดยการเชื่อมโยงอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบเข้าด้วยกันด้วยระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่นับวันจะมีความเร็วสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งเครือข่ายดาวเทียม ใยแก้วนำแสง 3G แลพ LTE ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลและสารสนเทศเข้าด้วยกันได้อย่างรวดเร็ว เราสามารถค้นหาข้อมูลหรือจัดการกับข้อมูลได้ด้วยความรวดเร็วและไม่จำกัดสถานที่ สามารถทำงานกับข้อมูลได้แม้จะอยู่นอกสำนักงาน และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่ทุกเวลา
เทคโนโลยีเหล่านี้ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในรูปแบบที่หลากหลาย โดยเฉพาะด้านการศึกษาและสุขภาพ เช่น
- การจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์ (E-Learning) ซึ่งเป็นการพัฒนาความรู้โดยประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- การศึกษาทางไกล (Distance Education) ที่ โฮน์นิชและคณะ (1993:282)ตรวจสอบเอกสารอ้างอิงด้วย ได้ให้ความหมายของการศึกษาทางไกลว่า "เป็นการศึกษาที่มีลักษณะที่ผู้เรียนอยู่ห่างไกลจากผู้สอนโปรแกรมการเรียนได้รับการจัดวางเป็นระบบ มีการใช้สื่อการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและการสื่อความหมายเป็นไปแบบสองทาง" บอร์ก โฮล์มเบิร์ก (1989:127) ตรวจสอบเอกสารอ้างอิงด้วย กล่าวว่า "หมายถึง การศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนมิได้มาเรียนหรือสอนกันซึ่ง ๆ หน้า แต่เป็นการจัดโดยระบบสื่อสารแบบสองทาง ถึงแม้ผู้เรียนและผู้สอนจะไม่อยู่ในห้องเดียวกันก็ตาม" วิจิตร ศรีสอ้าน (2529:5-7) ตรวจสอบเอกสารอ้างอิงด้วย กล่าวว่า "หมายถึงระบบการเรียนการสอนที่ไม่มีชั้นเรียน แต่อาศัยสื่อประสมอันได้แก่สื่อทางไปรษณีย์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และการสอนเสริม รวมทั้งศูนย์บริการการศึกษาเป็นหลัก โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองอยู่กับบ้านไม่ต้องมาเข้าชั้นเรียนตามปกติ" และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศยิ่งทำให้เกิดความสะดวกในการศึกษาทางไกลเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
- การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ซึ่งเป็นการนำเอาความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้กับงานด้านการแพทย์ในการวินิจฉัยโรค รักษา หรือเฝ้าระวังผู้ป่วย ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนสนเทศส่งผลอย่างมากกับการจัดการข้อมูล ประเทศไทยกับการก้าวตามเทคโนโลยีของโลก
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540หมวดที่ 5 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 76ได้ระบุไว้ว่า “รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ” แสดงให้เห็นถึงปรัชญาของรัฐธรรมนูญที่มีเจตนารมณ์ประชานชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานกับภาครัฐ ทั้งเพื่อถ่วงดุลย์ คานอำนาจ ตราจสอบอำนาจ ซึ่งเจตนารมณ์นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญต่อกระบวนการทำงานร่วมกันของภาครัฐกับภาคประชาชน เพื่อให้ประเทศไทยได้เป็นประชาธิปไตย์อย่างสมบูรณ์ และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ในอนาคต พระราชบัญญัติข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
การลงทุนของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในด้านระบบข้อมูลสุขภาพมีสูงทั้งเงินและความหลากหลายของระบบ
ค่าใข้จ่ายทางด้านสุขภาพของภาครัฐและประชาชน สามารถลดได้ด้วยการจัดทำระบบข้อมูลสุขภาพ
กระบวนการพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพของหลายองค์กรในภาครัฐ
กระบวนการพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพภาคประชาชน
ความสำคัญของ Social Networking เครือข่ายสังคมออนไลน์
Social Networking กับการพัฒนาฐานข้อมูลร่วมกัน
คำถามวิจัย
- การมีส่วนร่วมมีผลต่อการดำเนินงานระบบข้อมูลสุขภาพหรือไม่
- รูปแบบการมีส่วนร่วมที่ต่อผลการดำเนินงานระบบข้อมูลสุขภาพเป็นอย่างไร
วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนารูปแบบระบบงานข้อมูลสุขภาพโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในเครือข่ายสังคมออนไลน์
- เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมต่อผลการดำเนินงานระบบสุขภาพ
- เพื่อศึกษากระบวนการออกแบบระบบงานข้อมูลสุขภาพ (ตัดทิ้งแต่ยังคงมีอยู่ในการทบทวนวรรณกรรม)
สมมติฐานการวิจัย
- การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีผลต่อการดำเนินงานระบบข้อมูลสุขภาพ
- รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียมีผลต่อการดำเนินงานระบบข้อมูลสุขภาพ