ก๊วนซอฟท์แวร์ </softganz> SoftGang (Gang Software)

Web &amp; Software Developer Gang.

611 items|« First « Prev 33 34 (35/62) 36 37 Next » Last »|
โดย Little Bear on 30 ธ.ค. 54 21:48

ในที่สุดก็ทนไม่ได้ เลยขออนุมัติงบประมาณจาก ผบ.ทบ. เพื่อซื้อเครื่องใหม่ เนื่องจากไม่มั่นใจว่าปัญหาอยู่ตรงบ้านไหว , harddisk bad sector , harddisk คุณภาพไม่ดี , mainboard มีปัญหา (ก็ใช้กับ harddisk 3 ตัว มันทยอยเสียไปทุกตัวสิน่า)

ก็เลยตัดสินใจว่าจะซื้อ harddisk ใหม่ดีหรือไม่ แต่ช่วงนี้ harddisk มันขึ้นราคามากกว่าเท่าตัวเสียอีก (จาก 2000 เป็น เกือบ 5000 บาท)

เอาเป็นว่าซื้อเครื่องใหม่เลยดีกว่า จะได้เปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานด้วย

เลยซื้อ notebook เอาแรง ๆ หน่อย (แค่) i5 ram 4GB hd 750MB เป็น Lenovo Z470 (เนื่องจากงบไม่พอสำหรับซื้อ Thinkpad ที่เล็ง ๆ เอาไว้)

หลังจากลง Ubuntu แล้ว ก็เรียบร้อยทุกอย่าง เจอหมด ไม่ติดอะไรเลย มีปัญหากับ access point ที่บ้านเล็กน้อย ตอนนี้ปรับแก้ config ใน access point แล้ว ก็ใช้งานได้ปกติ

ต่อไปก็จะมีเครื่องสำหรับทำ TV Online ที่(คาดว่าเร็วพอ)บันทึกที่ความละเอียดสูง ๆ ได้ และสามารถพาเอางานทั้ง 100% ติดตัวไปข้างนอกได้ตลอดเวลา

โดย Little Bear on 20 ธ.ค. 54 16:52

มีปัญหากับ Nautilus เลยลองหา file browser ตัวใหม่ จนเจอกัน Marlin

ติดตั้งตามนี้

sudo add-apt-repository ppa:marlin-devs/marlin-daily
sudo apt-get update && sudo apt-get install marlin marlin-plugin-*

ที่มา Getting the Most from Marlin File Browser; Plus See What’s New , [How to] Install ‘Marlin’ File Browser in Ubuntu 11.10](http://www.omgubuntu.co.uk/2011/11/how-to-install-marlin-file-browser-in-ubuntu-11-10/)

โดย Little Bear on 20 ธ.ค. 54 14:22

ไม่อยากเชื่อ แต่ก็มีที่มาที่ไป

โดย Little Bear on 18 ธ.ค. 54 18:54

ลองติดตั้ง Avast Antivirus บน Ubuntu ไวสแกนไฟล์สักหน่อย

ก่อนอื่น ไปดาวน์โหลด มาก่อน

แล้วติดตั้งด้วย

sudo dpkg -i avast4workstation_1.3.0-2_i386.deb

หากใช้ Ubuntu 64 bit ก็ใช้คำสั่ง

sudo dpkg -i --force-architecture avast4workstation_1.3.0-2_i386.deb
โดย Little Bear on 18 ธ.ค. 54 11:26

กำลังหาไอเดียตั้งชื่อ CMS นี่คือไอเดียหนึ่ง - ค่อยมาคิดต่อ

รายชื่ออนุภาค

Atom Electron Proton Nuetron Charm - ชาร์ม Strange - สแตรงจ์ Muon - มูออน Tau - ทาว Higgs boson

ชนิดของอนุภาคมูลฐาน fermion boson Z W Photon - โฟทอน Gluon - กลูออน graviton ควาร์ก เลปตอน เกจ โกสต์

อนุภาคในสมมติฐาน เกจิโน กลูอิโน กราวิติโน แอกซิโน โบซิโน ชาร์จิโน ไตลาตอน แทคีออน

อนุภาคประกอบ ฮาดรอน แบริออน ไฮเปอรอน มีซอน ควาร์โกเนียม โพสิตรอน มิวโอเนียม โอเนียม ไดแบริออน เพนตาควาร์ก กลูบอน เตตราควาร์ก โพเมรอน

กึ่งอนุภาค
เดวิดอฟ โซลิตอน · เอกซิตอน · แมกนอน · โฟนอน · พลาสมอน · โพลาริตอน · โพลารอน · โรตอน

Baryon โมเลกุล colloid

ที่มา jusci.net , WikiPedia

โดย Little Bear on 16 ธ.ค. 54 23:06

เหตุเกิดจากบ้านไหว หลายครั้งหลายครา ฮาร์ดดิสเกิดอาการ bad block หรือ bad sector มา 2-3 ตัวแล้ว ส่งผลให้ช้า อืด อื๊ด อืด i/o wait พุ่งปรี๊ด พาลให้หงุดหงิด และวันดีคืนดี ก็จะ boot ไม่ขึ้น และข้อมูลใกล้จะสูญหาย

เลยต้องเช็คหน่อยว่า มัน bad สักขนาดไหนกัน วิธีการ ให้ run sudo badblocks -b 512 /dev/sda เพื่อสแกนหาว่ามัน bad sector ตรงไหน (จะ sda คือทั้ง harddisk หรือจะ sda1 คือเฉพาะ partition ก็ได้)

root@god# sudo badblocks -vsb 512 /dev/sda

แต่หากอยากให้ทดสอบด้วยวิธีการเขียนลงไปด้วย เตือนก่อนว่าอันตราย ให้ใช้คำสั่ง

root@god# sudo badblocks -nsb 512 /dev/sda

หรือ

root@god# sudo badblocks -wsb 512 /dev/sda

หากหาเจอแล้วต้องการ verify ให้สั่ง

root@god# sudo dd if=/dev/sda of=/dev/null iflag=direct bs=512 skip=sector_number count=1

คำสั่งนี้ต้องใส่ sector_number ให้ถูกต้องจาก badblocks นะครับ แล้วผลควรจะเกิด IO error (ก็เพราะว่ามัน bad นะสิ) หากมันไม่ฟ้อง อาจเป็นได้ว่าใส่ค่าผิด

หากพบว่ามัน bad จริง แล้วอยากจะซ่อมกัน ก็ให้สั่ง

root@god# sudo dd if=/dev/zero of=/dev/sda oflag=direct bs=512 seek=sector_number count=1

ที่มา Is Disk Utility reliable? , คำสั่ง badblocks

โดย Little Bear on 13 ธ.ค. 54 01:51

มีปัญหา 2-3 ครั้งแล้ว คาดว่าไฟล์เสียหายจากการที่ harddisk bad sector (ปัญหาที่ต้องลงทุนประมาณ 6 แสนบาท จึงจะแก้ไขได้) คราวก่อนต้องลง Ubuntu ใหม่ แต่คราวนี้เจอวิธีการ แล้วดันแก้ไขได้

Switch too a VT (Ctrl+Alt+F1 to F6) and run

unity --reset
sudo service lightdm stop
sudo service lightdm start

ที่มา Unity 3D does not work after upgrade

โดย Little Bear on 1 ธ.ค. 54 17:20

1 ธ.ค. 54 17.20 น. แม้จะไม่มีทางเข้าจากหน้าหลัก แต่ก็ถูกแฮ็คไปแล้ว

โดย Little Bear on 28 พ.ย. 54 12:52

Google

  • Outgoing Mail Server (SMTP): smtp.gmail.com
  • Encrypted connection (SSL) on port 465.

Hotmail

  • POP3 - pop3.live.com (logon using Secure Password Authentification - SPA, mail server port: 995)
  • SMTP - smtp.live.com (TLS enabled, port 587)

Yahoo! Mail

  • POP3 - pop.mail.yahoo.com (SSL enabled, port 465)
  • SMTP - smtp.mail.yahoo.com (SSL enabled, port 995)

POP Yahoo! Mail Plus

  • POP3 - plus.pop.mail.yahoo.com (SSL enabled, port 995)
  • SMTP - plus.smtp.mail.yahoo.com (SSL enabled, port 465, use authentication)

Google GMail

  • POP3 - pop.gmail.com (SSL enabled, port 995)
  • SMTP - smtp.gmail.com (TLS enabled, port 587)

MSN Mail

  • POP3 - pop3.email.msn.com (port 110, using Secure Password Authentication - SPA)
  • SMTP - smtp.email.msn.com (select "My outgoing server requires authentication")

Lycos Mail

  • POP3 - pop.mail.lycos.com (port 110)
  • SMTP - smtp.mail.lycos.com or use your local ISP SMTP mail server

AOL Mail

  • IMAP - imap.aol.com (port 143)
  • SMTP - smtp.aol.com or use your local ISP SMTP mail server

Mail.com

  • POP3 - pop1.mail.com (port 110)
  • SMTP - local ISP SMTP mail server

Freeserve Mail

  • POP3 - pop.freeserve.com (port 110)
  • SMTP - local ISP SMTP mail server

โดย Little Bear on 26 พ.ย. 54 09:12

โครงร่างวิทยานิพนธ์ Crowdsourcing


View in Google Docs

หมายเหตุ กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาโครงร่าง คงใช้เวลาอีกพอสมควรจึงจะได้โครงร่างที่สมบูรณ์

การพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในเครือข่ายสังคมออนไลน์

(Health Information System Development With Participation By Social Networking)

บทนำ

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

กระแสโลกยุคใหม่ในทศวรรษที่ 21 ได้ก้าวเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเต็มรูปแบบโดยการเชื่อมโยงอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีหลากหลายรูปแบบเข้าด้วยกันด้วยระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่นับวันจะมีความเร็วสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งเครือข่ายดาวเทียม ใยแก้วนำแสง 3G แลพ LTE ทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลและสารสนเทศเข้าด้วยกันได้อย่างรวดเร็ว เราสามารถค้นหาข้อมูลหรือจัดการกับข้อมูลได้ด้วยความรวดเร็วและไม่จำกัดสถานที่ สามารถทำงานกับข้อมูลได้แม้จะอยู่นอกสำนักงาน และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากทุกที่ทุกเวลา

เทคโนโลยีเหล่านี้ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในรูปแบบที่หลากหลาย โดยเฉพาะด้านการศึกษาและสุขภาพ เช่น

  1. การจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์ (E-Learning) ซึ่งเป็นการพัฒนาความรู้โดยประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  2. การศึกษาทางไกล (Distance Education) ที่ โฮน์นิชและคณะ (1993:282)ตรวจสอบเอกสารอ้างอิงด้วย ได้ให้ความหมายของการศึกษาทางไกลว่า "เป็นการศึกษาที่มีลักษณะที่ผู้เรียนอยู่ห่างไกลจากผู้สอนโปรแกรมการเรียนได้รับการจัดวางเป็นระบบ มีการใช้สื่อการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและการสื่อความหมายเป็นไปแบบสองทาง" บอร์ก โฮล์มเบิร์ก (1989:127) ตรวจสอบเอกสารอ้างอิงด้วย กล่าวว่า "หมายถึง การศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนมิได้มาเรียนหรือสอนกันซึ่ง ๆ หน้า แต่เป็นการจัดโดยระบบสื่อสารแบบสองทาง ถึงแม้ผู้เรียนและผู้สอนจะไม่อยู่ในห้องเดียวกันก็ตาม" วิจิตร ศรีสอ้าน (2529:5-7) ตรวจสอบเอกสารอ้างอิงด้วย กล่าวว่า "หมายถึงระบบการเรียนการสอนที่ไม่มีชั้นเรียน แต่อาศัยสื่อประสมอันได้แก่สื่อทางไปรษณีย์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และการสอนเสริม รวมทั้งศูนย์บริการการศึกษาเป็นหลัก โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองอยู่กับบ้านไม่ต้องมาเข้าชั้นเรียนตามปกติ" และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศยิ่งทำให้เกิดความสะดวกในการศึกษาทางไกลเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
  3. การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ซึ่งเป็นการนำเอาความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้กับงานด้านการแพทย์ในการวินิจฉัยโรค รักษา หรือเฝ้าระวังผู้ป่วย ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนสนเทศส่งผลอย่างมากกับการจัดการข้อมูล ประเทศไทยกับการก้าวตามเทคโนโลยีของโลก

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540หมวดที่ 5 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 76ได้ระบุไว้ว่า “รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ” แสดงให้เห็นถึงปรัชญาของรัฐธรรมนูญที่มีเจตนารมณ์ประชานชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานกับภาครัฐ ทั้งเพื่อถ่วงดุลย์ คานอำนาจ ตราจสอบอำนาจ ซึ่งเจตนารมณ์นี้เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญต่อกระบวนการทำงานร่วมกันของภาครัฐกับภาคประชาชน เพื่อให้ประเทศไทยได้เป็นประชาธิปไตย์อย่างสมบูรณ์ และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาด้านต่าง ๆ ในอนาคต พระราชบัญญัติข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540

การลงทุนของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในด้านระบบข้อมูลสุขภาพมีสูงทั้งเงินและความหลากหลายของระบบ

ค่าใข้จ่ายทางด้านสุขภาพของภาครัฐและประชาชน สามารถลดได้ด้วยการจัดทำระบบข้อมูลสุขภาพ

กระบวนการพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพของหลายองค์กรในภาครัฐ

กระบวนการพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพภาคประชาชน

ความสำคัญของ Social Networking เครือข่ายสังคมออนไลน์

Social Networking กับการพัฒนาฐานข้อมูลร่วมกัน

คำถามวิจัย

  1. การมีส่วนร่วมมีผลต่อการดำเนินงานระบบข้อมูลสุขภาพหรือไม่
  2. รูปแบบการมีส่วนร่วมที่ต่อผลการดำเนินงานระบบข้อมูลสุขภาพเป็นอย่างไร

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนารูปแบบระบบงานข้อมูลสุขภาพโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในเครือข่ายสังคมออนไลน์
  2. เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมต่อผลการดำเนินงานระบบสุขภาพ
  3. เพื่อศึกษากระบวนการออกแบบระบบงานข้อมูลสุขภาพ (ตัดทิ้งแต่ยังคงมีอยู่ในการทบทวนวรรณกรรม)

สมมติฐานการวิจัย

  1. การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีผลต่อการดำเนินงานระบบข้อมูลสุขภาพ
  2. รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียมีผลต่อการดำเนินงานระบบข้อมูลสุขภาพ
611 items|« First « Prev 33 34 (35/62) 36 37 Next » Last »|