เจอมาจาก Instant Heart Rate : มาวัดจังหวะหัวใจกันเถอะ หิ้ววววว~~~ นะครับ
ดูออกจะไม่น่าเชื่อว่า Android จะทำได้ แต่จากที่ลองอ่านดู เขาบอกว่ามันวัดจากการเปลี่ยนแปลงค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ซึ่งทุกครั้งที่หัวใจเต้นและส่งเลือดมาถึงปลายนิ้วมือ จะทำให้สีของผิวหนังเปลี่ยนไป (คงจะนิดเดียว) กล้องจะจับภาพความเปลี่ยนแปลงนี้และคำนวนออกมาเป็นจังหวะการเต้นของหัวใจ มันจะทำงานคล้าย ๆ กับเครื่อง medical pulse oximeter เพียงแต่ไม่มีแหล่งกำเนิดแสงในตัว
วิธีการวัดก็ง่าย ๆ เปิดโปรแกรม แล้วเอาปลายนิ้วชี้ไปวางทาบบนเลนส์กล้อง (อย่ากดแรงนัก มันอาจจะสังเกตุการเปลี่ยนแปลงยาก) แล้วคอยสักครู่ (10 วินาที) มันจะแสดงค่ามาให้ดู
ผมลองวางทาบตรงข้อมือที่เคยได้รับคำแนะนำมาแต่สมัยก่อนว่าเวลาจับชีพจรให้เอานิ้วแตะที่ข้อมือ(หงายมือ) ก็พอจะได้เหมือนกัน
ผมลองวัดเทียบกับการจับชีพจรไปด้วย ซึ่งก็ได้ค่าพอ ๆ กัน เพียงแต่มันแกว่งเยอะไปหน่อย และไม่ค่อยนิ่ง (สำหรับผม) เดี๋ยวจะลองหาหนูทดลองมาลองอีกสัก 2-3 คน
ลองโหลดได้จาก
จำไม่เคยได้เลย เวลาจะกำหนดค่า cellspacing ของ table ต้องไปตามหาทุกครั้ง เลยเอามาจดไว้ซะ
table { border-collapse: collapse; } table td { border: 2px solid red; /* 'cellspacing' */ border-spacing:10px; }
แต่!!!! ไม่เวิร์คบน IE นะจ๊ะ
สืบเนื่องจาก Milestone มันไม่สามารถ sync กับ gmail ได้ พยายามอยู่หลายวิธี ก็ยังไม่ได้ เลยตัดสินใจ reset to factory default สิ่งที่ได้มาคือ ทุกอย่างทำงานได้เป็นปกติ แต่ app ทุกตัวที่ลงไว้ หายหมด!!!
เอาหล่ะ มาเริ่มต้นกันใหม่ดีกว่า เอาเป็นว่าหากมี Android app ไหนที่ใช้แล้วถูกใจ ก็จะมาจดบันทึกไว้ก็แล้วกัน
ConnectBot อันนี้ขาดไม่ได้เลย หากมี server วางอยู่ที่ IDC แล้วต้อง remote เข้าไปด้วย ssh
Abduction - เกมส์ง่าย ๆ แต่เล่นยากชะมัด
Mobile Metronome - เครื่องเคาะจังหวะสำหรับนักดนตรี
Tuner - gStrings - เครื่องตั้งสายกีต้าร์
Thinking Space - mind map ดี ๆ น่าใจ
GPS Status - บอกสถานะของ GPS
My Maps Editor เก็บตำแหน่งของสถานที่ลง Google Maps
My Tracks เก็บเส้นทางการเดินทางแบบละเอียด
Dolphin Browser - สุดยอดของ browser
NetCounter - เหมือนตัวบนแต่นับ wifi ได้ด้วย
Bubble - วัดระดับ
MoneyManager
Location Log ใช้สำหรับบันทึกชื่อและพิกัดของสถานที่
APNdroid - ใช้เปิดปิด 3G
Barcode Scaner
Ringdroid เอาไว้ตัดเพลงเก็บเป็น ringtone ใช้ง่ายดี
Titanium Backup ของเขาดีจริงๆ ลงทุนไป donate ให้ถึงในเว็บเลย เก็บ apps+data ได้หมด
ADW.Launcher - home screen คล้ายๆ 2.2
Google My Tracks - บันทึกเส้นทาง
Ultimate Stopwatch & Timer นาฬิกาจับเวลา
Google Earth for android APK for manual installation ไม่มีใน market ไปโหลดเอาจาก http://sites.google.com/site/droidlife10/home/google_earth.apk แล้วเอามาลงเองนะ
มี Android app ดี ๆ อีกเยอะมาก อยู่ที่ blognone ลองตามไปดูได้เลย
เป็นภาพ ใหญ่และยาวมาก ๆ ลองอ่านดู ผมอ่านผ่าน ๆ ก็พอเห็นอะไรบางอย่าง ดูเองแล้วกัน อยู่ในรายละเอียด
สงสัยอยู่นานแล้วว่า คนอื่นเขาเก็บพิกัดละติจูด ลองกิจูดกันยังไง เก็บเป็น text เป็น numeric แยกฟิลด์ไหม ลองเก็บมาหลายรูปแบบจนเริ่มมั่ว ก็เลยลองหาดูว่าคนอื่นเขาเก็บค่าพิกัดกันอย่างไร
เลยเห็น MySql data typa ตัวใหม่ คือ SPATIAL ซึ่งจะเก็บเป็น GEOMETRY , POINT , LINESTRING , MULTIPOINT, MULTILINESTRING , MULTIPOLYGON , GEOMETRYCOLLECTION
เริ่มเข้าเค้า งั้นเลยลองเก็บแบบนี้ดู เห็นบอกว่าสามารถคำนวณพิกัด ระยะทาง ได้เลย
ลองสร้างตารางดู
CREATE TABLE `place` ( `name` varchar(100) DEFAULT NULL, `location` point DEFAULT NULL, PRIMARY KEY (`name`) ) ENGINE=MyISAM;
เวลา add record ต้องระบุ location เป็น POINT(7.10,100.6) เช่น
INSERT INTO `place` (`name`,`location`) VALUES ("สงขลา",PointFromText("POINT(7.122219 100.59288)"));
เวลา query ก็ใช้
SELECT `name`,AsText(`location`),X(location),Y(`location`) FROM `place`;
แหล่งเรียนรู้
พาครอบครัวเที่ยวเดือน ก.ค. 53 ครั้งนี้พากันไปเข้าวัด ถวายสังฆทาน แล้วกินข้าววัดไป 1 มื้อ หลังจากอิ่มหนำกันแล้ว ก็บรรเลงเพลงให้ท่านหลวงปู่ฟัง เอ้ย ไม่ใช่ เด็ก ๆ ซ้อมเพลงนกแอ่นกัน ดูได้จากวีดิโอนะ
เคยแปลงโดยใช้ mencoder อยู่พักนึง รู้สึกว่าใช้ยาก เลยลองเปลี่ยนเป็น ffmpeq บ้าง
แปลงจาก MPG เป็น FLV โดยใช้ค่า default ทุกอย่าง
ffmpeg -i input.mpg -f flv output.flv
เชื่อมไฟล์เข้าด้วยกันด้วยคุณภาพเหมือนต้นฉบับ
ffmpeg -i concat:"input1.mpg|input2.mpg" -sameq output.mpg ffmpeg -i concat:"input1.mpg|input2.mpg" -b 1000000 -f flv output.flv ffmpeg -i concat:"input1.mpg|input2.mpg" -vcodec libx264 -threads 3 -b 1000000 -f flv output.flv
ปรับขนาดให้เล็กลงสักหน่อย เพราะเน็ตผมช้า เหลือคุณภาพเสียง 22kHz bitrate 400kbps
ffmpeg -i input.mpg -ar 22050 -b 400000 output.flv
แปลงโดยใช้ codec h.264 ซึ่งจะได้คุณภาพที่ดีกว่า
ffmpeg -i input.mpg -vcodec libx264 -vpre slow -ar 22050 -threads 3 -s 640x360 -aspect 16:9 -ss 00:00:00 -vb 300000 -metadata title="Title here" output.flv
you can also use mpgtx (install it via APT) then just
mpgtx -j file01.mpg file02.mpg -o output_name.mpg
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 กรกฎาคม 2553 13:05 น.
เปลือยใจ 'พ.อ.นที ศุกลรัตน์' กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) หัวเรือใหญ่ในการผลักดัน 3G ของประเทศไทย ตอบทุกคำถามที่ผูกพันกับอนาคตโทรคมนาคมประเทศไทย ชนิดที่คนในวงการและประชาชนผู้บริโภคที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ควรพลาด
ความจำเป็นของการมี 3G
หากมองว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G คือโทรศัพท์ระบบหนึ่ง เราก็ไม่จำเป็นต้องมีเพราะปัจจุบันการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G มีครอบคลุมอยู่มากแล้ว แต่หากมองอีกแบบว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G คือการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือไวร์เลส บรอดแบนด์นั้น ถือว่ามีความจำเป็น เพราะสาเหตุที่สำคัญโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคทางด้านโทรคมนาคมขยายไม่ออก โดยเฉพาะจำนวนผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตขยายตัวน้อยมากเพราะประเทศไทยยังอิง อยู่กับโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นโทรศัพท์ประจำที่ ซึ่งเพิ่มได้ครั้งละ 1 พอร์ต เพราะฉะนั้นการขยายอย่างไรก็ทำได้ไม่เกิน 10 ล้านราย
กำลังศึกษาการเขียน Apache rewrite rule จะทำ subdomain redirect ไปสู่โปรแกรม
เช่น http://bear.softganz.com ไป http://www.softganz.com/index.php?u=bear
เขียนยากจริง ๆ พยายามทำความเข้าใจอยู่ หากพอจะเข้าใจ จะมาเขียนอธิบายรายละเอียดอีกที
แหล่งเรียนรู้
ถ้าคุณเป็นคนที่พึ่งเริ่มมาใช้งาน ubuntu lucid ก็คงจะสงสัยว่าเมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว เราควรติดตั้งอะไรเพิ่มบ้างเพราะถึงแม้ ubuntu จะมีโปรแกรมและ packet ต่างๆมาให้แล้วแต่ก็ใช่ว่าจะพร้อมใช้งานได้เลยทีเดียว ผมจะแนะนำสิ่งที่เราต้องทำหลังจากติดตั้ง ubuntu lucid เสร็จแล้ว ในเบื้องต้นให้ครับ
1. เลือก repository ที่โหลดไวที่สุด
เนื่องจากเราโปรแกรมต่างๆของ ubuntu นั้นส่วนมากจะต้องติดตั้งผ่าน apt-get ฉะนั้นแล้วเราต้องเลือก repository ที่ของไทยเราเพื่อการโหลด packet ต่างๆที่ไวขึ้น ให้ไปที่ System > Administration > Software sources
2. ติดตั้ง driver การ์ดจอก่อนเลยครับ เพื่อจะได้เล่น Compiz fusion ได้
ถึงแม้ ubuntu จะจับยัด driver ต่างๆมาให้พร้อมแล้ว แต่ก็ไม่ได้ใส่ driver การ์ดจอมาให้ครับ ฉะนั้นเราก็ต้องติดตั้งเพิ่มโดยการไปที่ System > Administration > Hardware Drivers เพื่อทำการโหลด driver มาติดตั้ง
3. ติดตั้ง Compiz fusion เพื่อใช้งาน Desktop 3D
Compiz fusion จะทำให้ ubuntu ของเราดูน่าใช้งานมากยิ่งขึ้นใครนึกไม่ออกว่าเป็นยังไงลอง search youtube ดูครับ
sudo aptitude install compizconfig-settings-manager compiz-fusion-plugins-extra
4. ติดตั้ง packet สำหรับเล่นไฟล์ mp3, mp4 และมีเดียต่างๆ
ด้วย ubuntu restricted extras เราจะไม่ต้องค่อยนั่งไล่ลง code เล่นไฟล์มีเดียต่างๆให้เมื่อยตุ่ม
sudo aptitude install ubuntu-restricted-extras
5. ติดตั้ง theme เพิ่มเติม
ubuntu lucid ได้มี theme มาพร้อมให้แล้วบางส่วนแต่อาจยังไม่ถูกใจหลายๆคน สามารถหาเพิ่มเติมได้จาก gnome-look.org หรือ
sudo aptitude install community-themes
6. ติดตั้ง Ubuntu Tweak
Ubuntu Tweak เป็นซอฟแวร์ที่ไว้ปรับแต่งระบบของ ubuntu ร่วมทั้งยังสามารถติดตั้งซอฟแวร์ตัวอื่นๆเพิ่มเติมได้อีกด้วย ใช้แทน Ubuntu Software Center ได้เลยทีเดียวครับ ซึ่งจะคล้ายๆของ Tweak UI ทางฝั่ง windows นั้นเอง
sudo add-apt-repository ppa:tualatrix/ppa
sudo aptitude update && sudo aptitude install ubuntu-tweak
7. เพิ่ม repository "Medibuntu"
เป็นแหล่งดาวน์โหลดแพกเกจที่เน้นสำหรับงานบันเทิงของ Ubuntu ทำให้เราสามารถติดตั้งโปแกรมต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เช่น Google earth, Opera , Sun Java ,Acrobat Reader และ อื่นๆ อีกมากมาย
sudo add-apt-repository ppa:medibuntu-maintainers/ppa
sudo aptitude update
8. ติดตั้ง VLC และ SMplayer ไว้เล่นไฟล์หนัง
เนื่องจาก Tottem ที่ ubuntu ให้มานั้นไม่สามารถตอบสนองตัณหาการดูหนังของเราได้หมดฉะนั้นเราต้องหา โปรแกรมตัวอื่นมาช่วยผมจึงแนะนำ vlc และsmplayer ครับ
sudo aptitude install vlc mozilla-plugin-vlc smplayer
ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ผมคิดว่าน่าจะทำกันหลังติดตั้ง ubuntu ใหม่...
ที่มา : Ubuntu Club