กรณีศึกษา "ข่าวลือการเกิดสึนามิ ในจังหวัดสงขลาและชายทะลภาคใต้" เพื่อนำเสนอในรายวชา Determinants of Health
ปัจจุบันแนวทางการสร้างแอพบนมือถือด้วย HTML5 กำลังมาแรง และอาจเป็นทางออกสำหรับนักพัฒนาที่ปวดหัวกับแพลตฟอร์มการพัฒนาบนมือถือจำนวนมากในท้องตลาด สุดท้ายอาจสร้างแอพด้วย HTML5 เพื่อใช้ได้กับสมาร์ทโฟนทุกค่ายก็เป็นได้
ในโอกาสนี้ W3C หน่วยงานกำกับดูแลมาตรฐานเว็บ ได้ออก Recommendations สำหรับการพัฒนาแอพบนมือถือด้วยเทคโนโลยีเว็บว่าควรทำอย่างไรจึงจะเหมาะสม เอกสารนี้เป็นคำแนะนำแบบกว้างๆ ไม่ได้เจาะจงแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่ง
ตัวอย่างบางส่วนจากเอกสารนี้ ได้แก่
- สำเนาข้อมูลไว้บนเครื่องฝั่ง client เผื่อมีปัญหาในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (ต้องใช้ Local Storage API ของ HTML5)
- ใช้ JSON parser ประมวลผลข้อมูลใน JSON แทน eval() เพื่อป้องกันไฟล์พังหรือมาผิดรูป
- ลดขนาดของแอพพลิเคชันให้เล็กที่สุดที่เป็นไปได้ ใช้การบีบอัดข้อมูลเข้ามาช่วย
- มีระบบช่วยล็อกอินอัตโนมัติ เพราะการป้อนรหัสผ่านทำได้ยากกว่าบนเดสก์ท็อป แต่ก็ควรมีลิงก์ให้เลือกล็อกเอาท์ด้วย
- ไม่ควรใช้ HTTP Redirect หรือการโหลดหน้าเว็บใหม่อัตโนมัติ
- ใช้เทคนิค sprite รวมไฟล์ภาพที่ใช้บ่อยเป็นภาพเดียว จะได้โหลดทีเดียว
- ถ้ามีหมายเลขโทรศัพท์ ควรใส่ลิงก์ระบุว่าเป็นหมายเลขโทรศัพท์ เพื่อคลิกแล้วกดโทรออกได้เลย
ตัวเอกสารฉบับเต็มอ่านได้จาก Mobile Web Application Best Practices นอกจากนี้ W3C ยังมีเอกสารใกล้เคียงกันคือ Mobile Web Best Practices 1.0 สำหรับคนที่สนใจทำเว็บให้รองรับมือถืออีกด้วย
บริษัทหลายแห่งประกาศตัวว่าจะสนับสนุนคำแนะนำของ W3C อันนี้ ตัวอย่างบริษัทดังๆ ได้แก่ Google, HP, Opera, Nokia และโอเปอเรเตอร์รายใหญ่อีกหลายเจ้า
ที่มา - W3C, ReadWriteWeb ผ่านทาง blognone.com
หมายเหตุของผมเอง คือ อนาคตคิดว่าจะพยายามทำ Apps บน modile ซึ่งเป็นแนวโน้มของโลกในอนาคต เริ่มช้าก็เสียโอกาส
Samsung N150 มีปัญหากับ brightness ของหน้าจอ คือ ไม่สามารถปรับได้ แถมยังมืดกว่าปกติอีกด้วย
วิธีปรับคือ
แบบที่ 1 - ใช้คำสั่งปรับ ซึ่งต้องสั่งทุกครั้งที่เปิดเครื่อง
sudo setpci -s 00:02.0 F4.B=50
แบบที่ 2 - ติดตั้งโปรแกรมแก้ไข
sudo add-apt-repository ppa:voria/ppa sudo apt-get update && sudo apt-get upgrade sudo apt-get install samsung-tools samsung-backlight sudo reboot
บทความนี้ได้มาจากต้นฉบับที่เว็บไซท์ Blognone.com เขียนโดย lch เห็นว่ามีความสำคัญต่ออนาคตของประเทศนี้ จึงขอนำมาเผยแพร่ต่อนะครับ
ขอเชิญอ่านกันได้เลยครับ
สืบเนื่องจากการที่แผนแม่บท ICT แห่งชาติฉบับที่ 2 ได้ประกาศใช้มาตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 แต่ผมเพิ่งจะได้มีโอกาสมายุ่งเกี่ยวและศึกษาแผนแม่บทนี้อย่างละเอียด จึงอยากนำมาสรุปให้ทุกท่านได้ย้อนมามองสาระสำคัญของแผนแม่บทนี้อีกสักครั้ง
2010-11-06
ล้างกระเบื้อง ได้ 20 แผ่น ขนไปให้แม่ของสมศักดิ์ที่เกาะยอ สภาพสองข้างทางที่ขับรถผ่าน ต้นไม้ล้มเป็นระยะ ตลอดเส้นทาง ทุกต้นล้วนล้มไปทางทิศตะวันออก???
เกาะยอโดนพายุถล่มอย่างหนัก ต้นไม้ล้มระเนระนาด กระชังปลาเสียหาย ปลากระพงหลุดพ่านทั่วทะเลสาบและทะเลนอก คนตกปลากันเต็มไปหมด
เป็นพายุที่รุนแรงที่สุดในรอบ 70 ปีเลยกระมัง
ออกจากเกาะยอ แวะไปหาแม่ที่สิงหนคร ที่บ้านโดนลมพายุ กระเบื้องหลุดไปประมาณ 10 แผ่น แต่ซ่อมแซมเรียบร้อยแล้ว น้ำไม่เข้าบ้าน น้ำทั้งหมดล้วนเป็นน้ำจากฝน ที่นี่ไม่มีคลอง ไม่ใช่ทางผ่านของน้ำ น้ำนอกบ้านสูงประมาณเข่า ซึ่งนับว่าสูงมากสำหรับแถบนั้น
2010-11-05
ฝนเริ่มตกมาอีกเมื่อตอนตี 4 จนเช้าแล้วยังไม่หยุด แต่ซาลงไปบ้างแล้ว
ช่วงเที่ยง พาแอวไปฉีดวัคซีนบาดทะยัก ไปที่เทศบาลเมืองคลองแห แต่วัคซีนหมดอายุ เลยไปโรงพยาบาลหาดใหญ่ ไปไม่ถึง รถติดมาก ๆ ยังเหลือระยะทางอีกไกล เลยตัดใจเลี้ยวกลับไปขึ้นลพบุรีราเมศร์ ไปที่โรงพยาบาล ม.อ. แทน หมดไป ห้าร้อยกว่าบาท
แวะไปเยี่ยมสมศักดิ์ น้ำท่วมแค่เอว ขนของขึ้นชั้นสอง น้ำแห้งแล้ว วันนี้ล้างบ้านเรียบร้อยแล้ว ยังรก ๆ อยู่บ้าง ทราบข่าวบ้านแม่ที่เกาะยอถูกพายุพัดหลังคาหลุดหายไปเป็นแถบ ไม่สามารถซ่อมแซมได้ คงต้องสร้างบ้านใหม่เลย หลังคาครัวพังไปพอสมควร พรุ่งนี้จะขนกระเบื้องที่บ้านไปให้ ช่วงนี้หาซื้อกระเบื้องไม่ได้เลย เป็นสินค้าอีกอย่างที่ขาดแคลน
2010-11-04
ท้องฟ้าสดใส น้ำในบ้านแห้งหมดแล้ว น้ำหน้าบ้านแห้งหมดแล้ว น้ำบนถนนหน้าบ้านเหลืออีกนิดหน่อย บนถนนเต็มไปด้วยโคลน น้ำที่ปากซอยหน้าบ้านเหลือประมาณหัวเข่า
เตรียมตัวออกไปบ้านชาคริต ดูว่าพอจะช่วยอะไรได้บ้าง ป้ากุ้งขับรถไปส่งที่วัดเพื่อไปเอารถ ขับรถไปทางลพบุรีราเมศร์ ถนนโล่งตลอด พอมาถึงสี่แยกสนามบินนอก รถติดยาวเหยียดเกือบครึ่งกิโล กว่าจะผ่าออกไปได้ใช้เวลาเกือบชั่วโมง
ชาคริตอยู่ที่สถานีวิทยุ ม.อ. จัดรายการช่วยเหลือน้ำท่วม สักพักจึงตัดสินใจเข้าไปสถานีวิทยุ ม.อ. น่าจะทำอะไรได้มากกว่านี้ ระหว่างน้ำท่วมผมแทบไม่ได้ติดตามข่าวเลย ทำให้ต่อข้อมูลไม่ติดว่าได้มีการทำอะไรกันไปบ้าง
คืนนี้เลยนอนกันที่บ้านชาคริต
2010-11-03
กลางดึกลุกขึ้นมาส่องไฟตรวจสอบน้ำเป็นระยะ ๆ จนประมาณตีสี่ จึงเห็นว่าน้ำเริ่มลดลงแล้วประมาณ 2 นิ้ว
เช้า น้ำลดลงเรื่อย ๆ แต่ยังคงพ้นเอวอยู่ ส่วนภายในครัวประมาณหัวเข่า น้ำยังคงเชี่ยว แต่ค่อยลดลง
บ่าย บ้านพี่กุ้งน้ำเริ่มต่ำกว่าพื้นห้องนอน พี่กุ้งซึ่งย้ายมานอนที่บ้าน กลับไปล้างห้อง แตนกับแอวไปช่วยกันล้างบ้านแอว
ผมได้รับโทรศัพท์จากเจี๊ยบ กอและ ขับรถเข้ามาได้จนถึงสุดถนนราดยาง เจอน้ำขวางหน้า ไม่สามารถเข้ามาได้ สอบถามความว่าถนนลพบุรีราเมศ รถสามารถวิ่งได้เกือบตลอดสายแล้ว หลังจากวางสาย เจี๊ยบขับรถไปบ้านเอ็กซ์ซึ่งกำลังทำขนมเพื่อแจกคนน้ำท่วม ผมลองดูความเป็นไปได้ว่าจะออกไปช่วยได้ไหม ตอนนี้น้ำก็ลดลงจนเกือบถึงพื้นห้องครัวแล้ว ไม่มีอะไรให้ต้องห่วงอีกแล้ว จึงลองเดินออกไปปากซอยเพื่อดูว่าน้ำยังลึกและเชี่ยวขนาดไหน น้ำยังคงอยู่พ้นเอวหน่อย เชี่ยว แต่สามารถไปได้ หากพาเด็กออกไป คงต้องขึ้นบ่า ซึ่งก็มีความเสี่ยงอยู่
กลับมาถึงบ้านปรึกษากันว่าจะไปดีไหม ยังคงมีงานให้ต้องจัดการหลังน้ำลดอีกเล็กน้อย ล้างพื้นห้องครัวเสร็จ ก็คิดว่าจะออกไป
17.00 น. ไฟฟ้าติด จึงตัดสินใจค่อยไปพรุ่งนี้หลังจากจัดการกับบ้านให้เรียบร้อย
ปีนี้หาปลาไม่ได้สักตัว น้ำเชี่ยวมาก