Topic List
Crowdsourcing 5 : ความรู้ของมวลชน
เอฟ.เอ. ฮาเยค - Friedrich August Hayek นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี ค.ศ. 1974 แห่งมหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน (London School of Economics and Political Science) เขียนว่า
“สมาชิกแต่ละคนในสังคมมีความรู้เพียงส่วนเสี้ยวเล็ก ๆ เท่านั้นเมื่อเทียบกับทั้งหมด และแต่ละคนก็มักละเลยข้อเท็จจริงส่วนใหญ่ซึ่งอยู่ในสังคม...ความเจริญตั้งอยู่บนพื้นฐานความจริงที่ว่า เราทุกคนล้วนได้ประโยชน์จากความรู้ที่เราไม่มีอยู่ และหนึ่งในวิธีที่ความเจริญช่วยให้เราก้าวข้ามข้อจำกัดเกี่ยวกับขอบเขตความรู้ของแต่ละคนได้ก็คือการพิชิตความละเลย ซึ่งไม่ใช่การหาความรู้เพิ่มเติม แต่เป็นการนำความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่กับแต่ละคนมาใช้ให้เกิดประโยชน์” (ฮาวี 2554,170) ซึ่งอินเทอร์เน็ตได้กลายมาเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถรวบรวมและนำความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้เป็นอย่างมาก
เงื่อนไขของความหลากหลายที่จะช่วยให้มวลชนสามารถแก้ไขปัญหาได้คือ 1. ปัญหานั้นต้องเป็นปัญหาที่ยุ่งยากจริง ๆ 2. มวลชนต้องมีคุณสมบัติบางประการที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหานั้น ๆ ได้ทันที นั่นคือมีความสามารถ มีความพร้อม มีความรู้ มีระบบในการรวบรวมและจัดการ 3. ผู้เข้าร่วมกลุ่มต้องถูกคัดเลือกมาจากเครือข่ายที่ใหญ่เพียงพอและต้องรับประกันได้ว่ามีความหลากหลายในแง่ของวิธีการแก้ไขปัญหา มีความสามารถในการแสดงมุมมองที่เป็นของตนเอง สามารถดึงความรู้เฉพาะตัวมาใช้ได้อย่างเต็มที่ (ฮาวี 2554,74)
เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่การสุ่มคนจากจำนวนมากมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อนสูงได้ ในขณะที่ทีมแบบดั้งเดิมไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้
ปัญญารวมหมู่จึงเป็นการใช้ความรู้ความสามารถ พลังความคิดสร้างสรรค์ หรือการตัดสินใจของมวลชน มาใช้ในการตอบปัญหาหรือแก้ปัญหาบางอย่างที่มีความซับซ้อน โดยใช้มวลชนจำนวนมากมาร่วมมือกันในการทำงานนั้นให้สำเร็จ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะได้ผลลัพท์ที่เทียบเท่าหรือดีกว่าผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านและใช้เวลาที่น้อยกว่าในการทำงานให้บรรลุผลสำเร็จ
Crowdsourcing 4 : โครงการคลิกเวิร์กเคอร์ส
คลิกเวิร์กเคอร์สเป็นโครงการเล็ก ๆ ของนาซ่า โดยบ๊อบ คาเนฟสกี้ วิศวกรซอฟท์แวร์ของอะเมสรีเสิร์จเซ็นเตอร์ของนาซ่า ได้นำแนวคิดโอเพ่นซอร์สมาใช้กับสาขาวิชาธรณีวิทยานอกโลก เพื่อแก้ไขปัญหาในการระบุและวัดขนาดปากปล่องภูเขาไฟจากภาพถ่ายดาวเทียมภูมิประเทศเพื่อค้นหาหลักฐานเกี่ยวกับน้ำบนดาวอังคาร ซึ่งเป็นงานที่ไม่ยากแต่ต้องใช้แรงงานมหาศาล คาเนฟสกี้นำภาพดาวอังคารทั้งหมดขึ้นไปอยู่ในระบบออนไลน์และเชื้อเชิญมือสมัครเล่นให้มาช่วยกันทำงานระบุและวัดขนาดของลักษณะภูมิประเทศจากภาพเหล่านั้น ก่อนที่จะเริ่มมอบงานให้มวลชนช่วยทำงานจริง เขาได้ทำการทดสอบกับเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งกับภาพจำนวน 88,000 ภาพโดยให้ระบุ แยกประเภท และวัดขนาดหลุมตกกระแทกทุกหลุมที่ปรากฏในภาพ การทดสอบใช้เวลาถึง 2 ปีจึงจะทำงานเสร็จสิ้น
นาซ่านำภาพทั้งหมดเข้าสู่ระบบออนไลน์และขอความร่วมมือจากชุมชนนักดาราศาสตร์สมัครเล่นให้เข้ามช่วยเหลือในการวิเคราะห์ภาพ โดยสร้างโปรแกรม “คลิกเวิร์กเคอร์ส” มาเป็นเครื่องมือสำหรับการทำงาน โดยนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกับชุดข้อมูลควบคุม (ฐานข้อมูลที่จัดการเรียบร้อยแล้ว) ภายใน 1 เดือน มีนักดาราศาสตร์สมัครเล่นหลายพันคนเข้ามาช่วยกันวิเคราะห์ภาพจนครบทุกภาพและมีความถูกต้องในระดับใกล้เคียงกับมืออาชีพ โดย 37% ของโครงการเป็นผลงานของอาสาสมัครที่เข้ามาช่วยงานเพียงแค่ครั้งเดียว
แนวคิดของโครงการนี้คือ แบ่งงานออกเป็นหน่วยเล็ก ๆ ที่แยกจากกันโดยเด็ดขาด ปริมาณงานอันมหาศาลถูกแจกจ่ายออกไปทั่วทั้งเครือข่ายชุมชนนักดาราศาสตร์โดยไม่มีการจำกัดจำนวนของผู้ที่ต้องการเข้ามาร่วมงาน และใช้ประโยชน์จากคนที่มีเวลาว่างเพียงแค่ไม่กี่นาทีให้มาช่วยกันทำงาน (เจฟฟ์ ฮาวี, 2008:81-84)
ปล. โครงการนี้ผมก็ไม่เคยได้ยินมาก่อนเลยเหมือนกัน เพิ่งมาอ่านเจอในหนังสือ "ล้านคลิก พลิกโลก" เห็นว่าเป็นโครงการเล็ก ๆ ไม่โด่งดัง แต่น่าสนใจในกระบวนการคิด พยายามหารายละเอียดในเว็บก็ไม่เจอ อยากรู้รายละเอียดของการทำงานรวมทั้งซอฟท์แวร์ที่เขาเขียนขึ้นมาด้วย
Crowdsourcing 3 : ปัญญารวมหมู่ Crowd wisdom
เจมส์ สุโรเวกกี้ (James Surowiecki) เขียนแนวคิดเกี่ยวกับปัญญารวมหมู่ไว้ในหนังสือเรื่อง “The Wisdom of Crowds” เมื่อปี ค.ศ. 2004 ว่า
“After all, think about what happens if you ask a hundred people to run a 100-meter race, and then average their times. The average time will not be better than the time of the fastest runners. It will be worse. It will be a mediocre time. But ask a hundred people to answer a question or solve a problem, and the average answer will often be at least as good as the answer of the smartest member. With most things, the average is mediocrity. With decision making, it’s often excellence. You could say it’s as if we’ve been programmed to be collectively smart.” (James Surowiecki,2004)
ระดับของความสำเร็จในการแก้ปัญหานั้นขึ้นอยู่ปริมาณของผู้คนจำนวนมากที่เข้ามาร่วมแก้ปัญหา หากเราขอให้คนร้อยคนวิ่งแข่งร้อยเมตรแล้วหาเวลาเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยของเวลาจะไม่มีทางดีกว่าเวลาของคนที่วิ่งเร็วที่สุด แต่ถ้าขอให้คนร้อยคนมาตอบปัญหาหรือแก้ปัญหาสักอย่างแล้ว ค่าเฉลี่ยของของคำตอบมักจะอย่างน้อยก็ดีเทียบเท่ากับคำตอบของคนที่ฉลาดที่สุดในกลุ่ม กับเรื่องส่วนใหญ่แล้วค่าเฉลี่ยของการตัดสินใจของคนธรรมดามักจะยอดเยี่ยม สิ่งนี้เรียกว่า ความฉลาดรวมหมู่ (collectively smart)
สุโรเวกกี้ได้หยิบยกประเด็นเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่ามวลชนได้พิสูจน์ตนเองแล้วว่าพวกเขาฉลาดกว่าสมาชิกที่ฉลาดที่สุด เช่น มวลชนตามงานออกร้านในชนบทของอังกฤษสามารถทายน้ำหนักของวัวที่ได้รางวัลโดยคลาดเคลื่อนไม่เกิน 1 ปอนด์ หรือผู้ชมรายการเกมส์โชว์ Who Wants to Be a Millionaire สามารถเอาชนะผู้เชี่ยวชาญที่เดาคำตอบได้ถูกต้องเพียง 65% ในขณะที่ผู้ชมกลับเดาคำตอบได้ถูกต้องถึง 91% โดยหลักการมาจากว่า หากคนเพียงไม่กี่คนในกลุ่มรู้คำตอบ ก็จะส่งผลให้กลุ่มสามารถทายคำตอบได้ถูกต้อง โดยคำตอบที่มีคนตอบมากที่สุดมักจะเป็นคำตอบที่ถูกต้อง
ปัญญารวมหมู่ในความหมายของ เจฟฟ์ ฮาวี เป็นการรวบรวมความรู้จากหลาย ๆ คนเพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหา ทำนายผลลัพท์ในอนาคต หรือควบคุมทิศทางกลยุทธขององค์กร เป็นรูปแบบการรับรู้เป็นกลุ่มที่คล้ายคลึงกับการทำงานภายในอาณาจักรมด ซึ่งมดแต่ละตัวต่างทำงานเสมือนเป็นเซลล์ในสิ่งมีชีวิตตัวเดียวกัน หรือการเลือกตั้งของมนุษย์ที่คนหลายล้านคนต่างลงคะแนนเพื่อให้ได้มติเพียงหนึ่งเดียว (เจฟฟ์ ฮาวี,2008:163)
Crowdsourcing 2 : วิกิพีเดีย
ลาร์รีย์ แซงเกอร์ อดีตศาสตราจารย์ด้านปรัชญา มีความคิดที่สร้างสารานุกรมรูปแบบใหม่ และได้มาเจอกับนักลงทุน จิมมี่ เวลส์ ทั้งสองมีแนวคิดตรงกันในทำสารานุกรม ซึ่งเรียกว่า นูพีเดีย (Nupedia) โดยนูพีเดียจะรวบรวมสาระความรู้จากผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ แต่สิ่งที่แตกต่างไปจากสารานุกรมแบบดั้งเดิมคือ เป็นสารานุกรมที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากอินเตอร์เน็ต ไม่เสียค่าใช้จ่าย และเป็นสารานุกรมที่เขียนโดยอาสาสมัคร โครงการเริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ. 2000มีการทาบทามผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ให้มาช่วยกันเขียนบทความ เพื่อให้งานมีความน่าเชื่อถือจึงมีการคิดค้นวิธีกลั่นกรองงานของผู้เขียนหลายขั้นตอน งานทุกชิ้นที่ส่งเข้ามาจะถูกตรวจพิจารณาที่ยากและยาวนานเจ็ดขั้นตอน กว่าจะได้รับการเผยแพร่ ในระยะแรกมีบทความเพียง 2-3 ชิ้นที่ผ่านกระบวนการตรวจพิจารณาและเผยแพร่บนเว็บไซต์ ผ่านไปอีกหลายเดือนก็มีบทความเพิ่มขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง เวลล์และแซงเกอร์คาดหวังว่าในหลายเดือนถัดมาจะมีบทความเข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่เหตุการณ์นั้นก็ไม่เกิดขึ้น ก่อนที่แซงเกอร์จะพบปะกับเบน โควิทซ์ วิศวกรสื่อสารสนเทศ นูพีเดียมีบทความที่นำเสนอเพียง 10 กว่าบทความเท่านั้น เบนได้แนะนำให้แซงเกอร์ได้รู้จักกับ วอร์ด คันนิงแฮม โปรแกรมเมอร์ที่ได้เขียนโปรแกรมชื่อ วิกิวิกิเว็บ (WikiWkikWeb) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยให้โปรแกรมเมอร์สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ง่าย ๆ และโปรแกรมนี้ยังสามารถนำไปใช้กับงานอื่น ๆ ได้อย่างกว้างขวางอีกด้วย เป็นโปรแกรมที่อนุญาตให้ผู้ใช้ไม่จำกัดจำนวนสามารถเข้าไปสร้างและแก้ไขข้อความในแต่ละหน้าของเว็บเพจได้อย่างสะดวก มีการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการแก้ไขไว้ทุกครั้ง ทำให้ทุกคนสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงข้อมูลและใครเป็นผู้เปลี่ยนแปลง ซึ่งวิธีการนี้สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยร่นกระบวนการต่าง ๆ ในการเขียน แก้ไข และตรวจพิจารณาบทความให้เร็วขึ้น
ปี ค.ศ. 2001 แซงเกอร์ ได้นำวิกิเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนูพีเดีย โดยเป็นช่องทางให้ทุกคนเข้ามาเพิ่มเติมเนื้อหาต่าง ๆ ก่อนป้อนเข้าสู่กระบวนการของนูพีเดีย ภายใน 3 สัปดาห์ มีผู้เขียนจากที่ต่าง ๆ ได้สร้างสรรค์บทความ 17 บทความ และเพิ่มขึ้นเป็น 150 บทความในอีก 1 เดือนถัดมา และเพิ่มขึ้นอีก 4 เท่าในเดือนต่อมา จนสิ้นเดือนสิงหาคม 2001 ก็มีบทความถึง 3,700 บทความ นับเป็นอัตราการเติบโตที่เร็วที่สุดตั้งแต่สร้างนูพีเดีย พร้อมกับจำนวนผู้เขียนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน เมื่อสิ้นปี ค.ศ. 2001 วิกิพีเดียก็มีบทความ 15,000 ชิ้น และยังคงเพิ่มขึ้นด้วยอัตราเติบโตแบบคงที่ (เจฟฟ์ ฮาวี, 2008:76-81) จากสถิติที่แสดงในหน้าเว็บไซท์ของ wikipedia.com ปัจจุบันวิกิพีเดียมีบทความภาษาอังกฤษ 3.9 ล้านชิ้น รวมทุกภาษามีถึง 27.2 ล้านชิ้น และผู้เขียน 16.7 ล้านคน (WikiPedia, 2012-1) ซึ่งมากกว่าสารานุกรมบริแทนนิกาออนไลน์ซึ่งมีบทความอยู่เพียง 120,000 ชิ้นเท่านั้น (WikiPedia, 2012-2)
Crowdsourcing 1 : ปฐมบทของการถ่ายโอนงานให้มวลชน
(กำลังเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์เรื่อง "การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพด้วยกระบวนการคราวด์ซอร์สซิง" เลยขอใช้พื้นที่นี้เป็นการบันทึกความคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับคราวด์ซอร์สซิงเอาไว้)
เจฟฟ์ ฮาวี ได้ให้คำนิยามคำว่า คราวด์ซอร์สซิง หรือ การถ่ายโอนงานให้มวลชน เอาไว้ว่า :
“Simply defined, crowdsourcing represents the act of a company or institution taking a function once performed by employees and outsourcing it to an undefined (and generally large) network of people in the form of an open call. This can take the form of peer-production (when the job is performed collaboratively), but is also often undertaken by sole individuals. The crucial prerequisite is the use of the open call format and the large network of potential laborers.” (Howe,2006)
จากที่ได้ประมวลมาคร่าว ๆ ได้ความว่า คราวด์ซอร์สซิ่ง นั้นเป็นการร่วมสร้างสรรค์ของกลุ่มคน(Crowd) เพื่อร่วมกันทำหรือสร้างสิ่งต่างๆ รวมถึงแก้ไขปัญหาร่วมกันเป็นกระบวน ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ามาขับเคลื่อนวงจรสมรรถนะส่วนเกินของบุคคล เช่นเวลาหรือพลังงานที่เหลือจากการทุ่มเททำงานให้นายจ้างและครอบครัว มาร่วมกันปฏิบัติการตามความปรารถนาของตนเองโดยมีผู้อื่นร่วมอยู่ในเส้นทางเดียวกัน โดยมีอินเตอร์เน็ทเป็นช่องทางในการสื่อสารและแลกเปลี่ยน จนส่งผลให้เกิดการสร้างสรรค์สารสนเทศซึ่งเป็นผลผลิตอันทรงคุณค่าของเศรษฐกิจยุคข้อมูลข่าวสารขึ้นมามากมาย โดยใช้หลักการของปัญญารวมหมู่(Crowd Wisdom) และ การถ่ายโอนเงินทุน(Crowd funding) ที่มีหลักปรัชญาคือคนกลุ่มใหญ่ย่อมมีความรู้มากกว่าคนคนเดียว เคล็ดลับอยู่ที่การสร้างเงื่อนไขหรือแรงจูงใจเพื่อสนับสนุนให้มวลชนแสดงความรู้ที่ตนมีออกมาสู่สาธารณะ
Crowdsourcing is inarguably the fastest growing trend in the market these days. The term was coined by Jeff Howe in an article in ‘Wired magazine’ in 2006 and has since re-invented the way people do business. In just six years of existence, top crowdsourcing sites have won insurmountable laurels and success in the business community. Ben Kerschberg, in his enlightening article published in Forbes magazine highlighted “How Crowdsourcing Is Tackling Poverty In The Developing World”.
The concept of employing a creative crowd for projects crept into the design field in 2008 when 99designs launched the first logo design contest site. After that, many promising companies like MycroBurst and CrowdSPRING stepped up and served the community with full flow. Today, we present you with an interesting infographic on top 5 design crowdsourcing sites. Through our infographic, we have illustrated some very fascinating facts and figures about the best crowdsourcing sites in the field of design.
สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพน้อยลง ขณะที่การโปรโมตธุรกิจของคุณคือโอกาสสำหรับธุรกิจขนาดเล็กจำเป็นต้องพิจารณาทั้งหมด ที่พูดมานั้น คุณไม่ควรลงไป มันอาจจะดูง่ายแต่มันไม่ใช่ ความคิดริเริ่มในคราวด์ซอร์สซิ่งของคุณจะประสบความสำเร็จได้ คุณจำเป็นต้อง
ทำให้ตัวแปรของโครงการชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้น - ถ้าหากคุณต้องการให้ได้ผลลัพท์ที่เฉพาะเจาะจง คุณจะต้องเขียนคำแนะนำที่ชัดเจนที่สุดสำหรับโครงการ ร่างรายละเอียดต่าง ๆ เหมือนเช่นยี่ห้อและความต้องการสินค้าจะทำให้ง่ายขึ้นสำหรับคุณและคนที่คุณเลือที่จะมุ่งเน้นผลลัพท์ที่ต้องการ
หามวลชนที่เหมาะสม - เรื่องนี้ต้องขอบคุณบริษัทอย่าง CrowSpring และ เว็บไซท์เครือข่ายสังคมอย่าง Facebook และ Twitter ที่ทำให้เรื่องเหล่านี้ง่ายขึ้น แน่นอนว่าคุณสามารถหากลุ่มคนที่เหมาะสม (หรือบุคคลที่เหมาะสม) เพื่อช่วยให้บริษัทของคุณบรรลุเป้าหมายของโครงการ ไม่ว่าคุณต้องการที่จะได้รับข้อเสนอแนะสำหรับความคิด,ทดสอบผลิตภัณฑ์หรือมีฝูงชนมาช่วยสร้างความคิดให้ จะต้องเพื่อให้ได้คนที่เหมาะสมมาช่วยป้อนใส่ให้
ให้สิ่งจูงใจที่เหมาะสม - ทำไมมวลชนจะช่วยให้คุณ? การทำงานร่วมกันไม่ได้หมายความว่าแรงงานที่ฟรี เราอยู่ในยุคของการทำงานร่วมกัน แต่ยังคงมีจำเป็นต้องจ่ายออก บางครั้งแรงจูงใจที่เหมาะสมเป็นเรื่องง่ายเหมือนการรับรู้ของประชาชนในการทำงานผู้ผลิต สำหรับนักออกแบบมือใหม่ก็จะจ่ายเงินเพื่อรวมโครงการสำหรับ บริษัท ของคุณในผลงานของพวกเขา บางครั้งคุณจำเป็นต้องที่จะนำเสนอสิ่งจูงใจที่จับต้องได้มากขึ้นเงิน,รางวัล,ส่วนลดเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ความร่วมมือ รู้จักฝูงชนของคุณดีพอที่จะนำเสนอแรงจูงใจที่เหมาะสม
(Heather Murtagh,2012)