Crowdsourcing 2 : วิกิพีเดีย
Crowdsourcing 2 : วิกิพีเดีย
ลาร์รีย์ แซงเกอร์ อดีตศาสตราจารย์ด้านปรัชญา มีความคิดที่สร้างสารานุกรมรูปแบบใหม่ และได้มาเจอกับนักลงทุน จิมมี่ เวลส์ ทั้งสองมีแนวคิดตรงกันในทำสารานุกรม ซึ่งเรียกว่า นูพีเดีย (Nupedia) โดยนูพีเดียจะรวบรวมสาระความรู้จากผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ แต่สิ่งที่แตกต่างไปจากสารานุกรมแบบดั้งเดิมคือ เป็นสารานุกรมที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากอินเตอร์เน็ต ไม่เสียค่าใช้จ่าย และเป็นสารานุกรมที่เขียนโดยอาสาสมัคร โครงการเริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ. 2000มีการทาบทามผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ให้มาช่วยกันเขียนบทความ เพื่อให้งานมีความน่าเชื่อถือจึงมีการคิดค้นวิธีกลั่นกรองงานของผู้เขียนหลายขั้นตอน งานทุกชิ้นที่ส่งเข้ามาจะถูกตรวจพิจารณาที่ยากและยาวนานเจ็ดขั้นตอน กว่าจะได้รับการเผยแพร่ ในระยะแรกมีบทความเพียง 2-3 ชิ้นที่ผ่านกระบวนการตรวจพิจารณาและเผยแพร่บนเว็บไซต์ ผ่านไปอีกหลายเดือนก็มีบทความเพิ่มขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง เวลล์และแซงเกอร์คาดหวังว่าในหลายเดือนถัดมาจะมีบทความเข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่เหตุการณ์นั้นก็ไม่เกิดขึ้น ก่อนที่แซงเกอร์จะพบปะกับเบน โควิทซ์ วิศวกรสื่อสารสนเทศ นูพีเดียมีบทความที่นำเสนอเพียง 10 กว่าบทความเท่านั้น เบนได้แนะนำให้แซงเกอร์ได้รู้จักกับ วอร์ด คันนิงแฮม โปรแกรมเมอร์ที่ได้เขียนโปรแกรมชื่อ วิกิวิกิเว็บ (WikiWkikWeb) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยให้โปรแกรมเมอร์สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ง่าย ๆ และโปรแกรมนี้ยังสามารถนำไปใช้กับงานอื่น ๆ ได้อย่างกว้างขวางอีกด้วย เป็นโปรแกรมที่อนุญาตให้ผู้ใช้ไม่จำกัดจำนวนสามารถเข้าไปสร้างและแก้ไขข้อความในแต่ละหน้าของเว็บเพจได้อย่างสะดวก มีการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการแก้ไขไว้ทุกครั้ง ทำให้ทุกคนสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงข้อมูลและใครเป็นผู้เปลี่ยนแปลง ซึ่งวิธีการนี้สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยร่นกระบวนการต่าง ๆ ในการเขียน แก้ไข และตรวจพิจารณาบทความให้เร็วขึ้น
ปี ค.ศ. 2001 แซงเกอร์ ได้นำวิกิเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนูพีเดีย โดยเป็นช่องทางให้ทุกคนเข้ามาเพิ่มเติมเนื้อหาต่าง ๆ ก่อนป้อนเข้าสู่กระบวนการของนูพีเดีย ภายใน 3 สัปดาห์ มีผู้เขียนจากที่ต่าง ๆ ได้สร้างสรรค์บทความ 17 บทความ และเพิ่มขึ้นเป็น 150 บทความในอีก 1 เดือนถัดมา และเพิ่มขึ้นอีก 4 เท่าในเดือนต่อมา จนสิ้นเดือนสิงหาคม 2001 ก็มีบทความถึง 3,700 บทความ นับเป็นอัตราการเติบโตที่เร็วที่สุดตั้งแต่สร้างนูพีเดีย พร้อมกับจำนวนผู้เขียนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน เมื่อสิ้นปี ค.ศ. 2001 วิกิพีเดียก็มีบทความ 15,000 ชิ้น และยังคงเพิ่มขึ้นด้วยอัตราเติบโตแบบคงที่ (เจฟฟ์ ฮาวี, 2008:76-81) จากสถิติที่แสดงในหน้าเว็บไซท์ของ wikipedia.com ปัจจุบันวิกิพีเดียมีบทความภาษาอังกฤษ 3.9 ล้านชิ้น รวมทุกภาษามีถึง 27.2 ล้านชิ้น และผู้เขียน 16.7 ล้านคน (WikiPedia, 2012-1) ซึ่งมากกว่าสารานุกรมบริแทนนิกาออนไลน์ซึ่งมีบทความอยู่เพียง 120,000 ชิ้นเท่านั้น (WikiPedia, 2012-2)
Relate topics
- Outsourcing
- Crowdsourcing Weather Data
- Verily: Crowdsourced Verification for Disaster Response
- Crowdsourcing 7 : Paypal ใช้ crowd ในการแจ้ง bug ด้านความปลอดภัย
- Crowdsourcing 7 : คราวด์ซอร์สซิงด้วยเครือข่ายสังคมออนไลน์
- “ความคิดดี ๆ” มาจากไหน
- จับกระแสโลกเอาต์ซอร์สซิ่ง
- 10 เทรนด์ร้อนโซเชียลมีเดีย ปี 2012
- Crowdsourcing 7 : คราวด์ซอร์สซิง - แฟชั่นสมัยนิยมหรือองค์ประกอบพื้นฐานกันแน่?
- Crowdsourcing 6 : The Power Of Crowds
- Crowdsourcing 5 : ความรู้ของมวลชน
- Crowdsourcing 4 : โครงการคลิกเวิร์กเคอร์ส
- Crowdsourcing 3 : ปัญญารวมหมู่ Crowd wisdom
- Crowdsourcing 1 : ปฐมบทของการถ่ายโอนงานให้มวลชน
- First Infographic on Top 5 Design Crowdsourcing Sites
- วิธีทำให้คราวด์ซอร์สซิ่งของคุณประสบความสำเร็จ