ก๊วนซอฟท์แวร์ </softganz> SoftGang (Gang Software)

Web &amp; Software Developer Gang.

611 items|« First « Prev 29 30 (31/62) 32 33 Next » Last »|
โดย Little Bear on 19 พ.ค. 55 11:15

บริการเอาต์ซอร์สซิ่งได้รับการจับตามองจากบรรดานักวิเคราะห์ว่าจะกลับยึดพื้นที่ในตลาดไอทีได้อีกครั้ง แม้ว่าอาจจะอยากสักหน่อยก็ตาม เนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ผ่านมา ทำให้เกิดปัญหาทั้งในแง่ของสัญญาว่าจ้างที่ติดเงื่อนไขมากมาย บริการคลาวด์ที่ทำให้ไม่ต้องใช้พนักงานมากนัก ปัญหาแรงงานเฟ้อแต่ขาดคุณภาพ เป็นต้น

และนี่คือแนวโน้มของบริการของเอาต์ซอร์สซิ่งที่จะเกิดในปีนี้ (2011) ซึ่งดูเหมือนจะยังมีแนวโน้มที่ดีอยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย ลองไปติดตามกัน

โดย Little Bear on 19 พ.ค. 55 11:09

ค่ายแมคแคน เวิลด์กรุ๊ป (ประเทศไทย) แผนกคอนซูเมอร์ อินไซต์ เผยผลสำรวจล่าสุด(A SNEAK PEEK AT THE SOCIAL MEDIA TRENDS OF 2012) ชี้นวัตกรรมโซเชียล มีเดีย จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของสื่อดิจิตอลในปี 2012 โดยอาศัยแนวคิดในการสร้างประสบการณ์ที่มีรูปแบบเป็นปัจเจกชนมากขึ้น และผลักดันให้เกิดการค้นหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ ผ่านกลุ่มโซเชียลของตนเอง

“โดยในปี 2012 วิธีในการเข้าถึงผู้บริโภคผ่านนิชโซเชียลเน็ตเวิร์ค ผ่านผู้มีอิทธิพลทางความคิดในโลก โซเชียลผ่านการทำคราวด์ซอร์สซิ่งเพื่อสังคม และการทำคอนเท็นต์เพื่อตอบโจทย์โซเชียลทีวี จะเป็นตัวแปรสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ”วฤตดา วรอาคม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านนวัตกรรม แมคแคน เวิลด์กรุ๊ป (ประเทศไทย) เผยถึงเคล็ดลับในการทำโซเชียลเน็ตเวิร์คตอบโจทย์

ขณะเดียวกัน เธอบอกด้วยว่า ในปัจจุบันผู้บริโภคก้าวล้ำไปกับเทคโนยี มีการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย ในช่องทางหลากหลายและพร้อมรับประสบการณ์ใหม่ผ่านสื่อข้ามสกรีน ทั้งนี้ผลการสำรวจยังได้ข้อสรุป 10 ข้อของสื่อดิจิตอลในปี 2012 เด่นๆประกอบด้วย

  1. THE INSPIRATION CLOUD

    บทบาทของโซเชียลมีเดียกำลังเป็นมากกว่าสังคมออนไลน์ที่ทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงคนและเป็นสื่อกลางในการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในปี 2012 ผู้บริโภคจะได้รู้จักกับโซเชียลมีเดียรูปแบบใหม่ๆ ที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจและผลักดันให้ผู้ใช้ได้แชร์และแสดงความเป็นตัวตนของตัวเองในมุมมองใหม่ๆ อย่างสร้างสรรค์

  2. PASSION CREATED CONTENT

    ในขณะที่เฟซบุ๊คและทวิตเตอร์ได้สร้างปรากฏการณ์มีผู้ใช้แพร่หลายไปทั่วโลก กระแสนิยมต่อนิชโซเชียลเน็ตเวิร์ค (Niche Social Networks) ก็เริ่มมีให้เห็นมากขึ้นเช่นกัน โดยที่นิชโซเชียลเน็ตเวิร์คส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นสังคมออนไลน์ที่มีความเฉพาะกลุ่มที่ให้ผู้ใช้สามารถเข้ามาเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความสนใจที่มีอยู่คล้ายๆกัน เช่น Pinterest, Soundcloud และ Snapette เป็นต้น โดยในอนาคตโซเชียลเน็ตเวิร์คประเภทนี้จะก่อให้เกิดกลุ่มสังคมเพื่อนออนไลน์ในมิติใหม่

  3. SOCIAL SHOP TILL YOU DROP

    ความเป็นโซเซียลได้กลายเป็นปัจจัยหนึ่งในการชอปปิ้ง ธุรกิจแฟชั่นจำนวนมากได้หันมาใช้โซเชียลแพล็ตฟอร์มเพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ๆให้กับผู้บริโภคในการชอปปิ้ง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกหาสินค้า บอกต่อ และช่วยให้ตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ซึ่งโซเชียลเน็ตเวิร์คประเภทนี้สามารถผสมผสานทั้งคอนเท็นต์ คอมมูนิตี้ผู้บริโภคและการซื้อขายเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว

  4. TV, THE NEW SCREEN CULTURE

    ทีวีกำลังจะกลับมาอีกครั้ง โดยแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนจะเป็นสกรีนสำคัญในการสร้างประสบการณ์ใหม่ผ่านแนวคิดโซเชียลทีวี คอนเท็นต์ทีวีที่สามารถให้ผู้ชมมีปฏิสัมพันธ์กับรายการไม่ว่าจะเป็นการแชร์ ไลค์หรือทวีตในลักษณะเรียลไทม์จะเป็นเทรนด์ใหม่ที่ผู้ชมในยุคนี้กำลังมองหา

  5. FLASH SALES GOES GEO-LOCO

    ปัจจุบันผู้บริโภคไม่เพียงแต่มองหาสิ่งที่อยากจะซื้อเท่านั้น แต่ยังเปิดกว้างและพร้อมที่จะยอมรับการนำเสนอสินค้าใหม่ๆ และด้วยไลฟ์สไตล์แบบ on-the-go ของคนสมัยนี้ ทำให้โซเชียลมีเดียได้พัฒนาขึ้นไปอีกขั้นโดยมีการนำการระบุพิกัดมาใช้ในการเข้าถึงผู้บริโภคผ่านทางมือถือเพื่อนำเสนอดีลต่างๆให้สอดคล้องตามสถานที่ที่ผู้บริโภคไปในรูปแบบเรียลไทม์

  6. THE COMEBACK OF BROWSER ARCADE

    บราวเซอร์เกมส์ (Browser Gaming) หรือ เกมส์ที่เล่นผ่านบราวเซอร์ถือเป็นเทรนด์ฮิตใหม่สำหรับกลุ่มนักเล่นเกมส์ออนไลน์ ซึ่งกำลังเข้ามาแทนที่กระแสของเกมส์ที่ต้องอาศัยการดาวน์โหลด นอกจากนี้โซเชียลเกมส์ก็กำลังพัฒนาไปสู่บราวเซอร์เกมส์เพื่อเจาะตลาดกลุ่มใหม่เช่นกัน เนื่องจากบราวเซอร์เกมส์นั้นสามารถให้ประสบการณ์ในการเล่นที่ดีกว่าและสะดวกกว่า

  7. FROM SEARCH ENGINE TO DISCOVERY ENGINE

    บทบาทของการเสิร์ชจะไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการค้นหาข้อมูลพื้นฐาน แต่เป็นการแสวงหาสิ่งใหม่ผ่านคนหรือกลุ่มโซเชียลที่มีอิทธิพลทางความคิดหรือที่สอดคล้องกับความสนใจของตัวเอง(Social Discovery) ดังนั้นการใช้ผู้มีอิทธิพลทางด้านความคิดในโลกออนไลน์จะเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่น่าสนใจในการทำการตลาดโซเชียลมีเดีย

  8. SOCIAL OF SOCIAL IS EVEN MORE SOCIAL

    เว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นที่ช่วยในการจัดการข้อมูลจากโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างเช่น Seesmic, Statigram, Tweetdeck และ Klout เริ่มมีผู้ใช้กันมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคไม่ได้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คเพียงแค่ชนิดเดียว จึงเริ่มมีการมองหาเครื่องมือเพื่อเข้ามาช่วยดึงข้อมูลจากโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ในการอัพเดทข่าวสาร คัดสรรข้อมูลหรือแม้แต่วัดความมีอิทธิพลของตัวเองบนโลกออนไลน์

  9. LIFE IS SHARING & MORE

    โซเชียลฟังก์ชั่นได้ก่อให้เกิดการเข้าสังคมผ่านสื่อดิจิตอล (Social Functions) และทำให้ผู้บริโภคสามารถแสดงความเป็นตัวตนในสื่อดิจิตอลมากขึ้น (Social Personality) ผู้บริโภคในปัจจุบันส่วนใหญ่คุ้นเคยกับการลิงค์ข้อมูลส่วนตัวไปยังโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ และเริ่มยอมรับพื้นที่ความเป็นส่วนตัวทางออนไลน์ที่ลดลง

  10. SOCIAL GOOD RIPPLES

    แม้ว่าเทรนด์การร่วมกันสร้างสรรค์ของกลุ่มคน หรือ คราวด์ซอร์สซิ่ง (Crowdsourcing) จะไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับผู้บริโภค แต่แพลตฟอร์มคราวด์ซอร์สซิ่งก็ยังคงเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคให้ความสนใจและตอบรับอย่างดี โดยในปี 2012 การคราวด์ซอร์สซิ่งผ่านสังคมออนไลน์ในรูปแบบ Sustainable Innovation Crowdsourcing, Social Enterprise Crowdsourcing และ Micro-volunteering เพื่อกระตุ้นพลังมวลชนมาร่วมกันทำประโยชน์เพื่อสังคมจะมีความเป็นรูปธรรมและสร้างสรรค์มากขึ้น

ที่มา www.thaitrainingzone.com

โดย Little Bear on 19 พ.ค. 55 01:43

Is Crowdsourcing a Fad or a Foundational Element?

Much has been written about ‘crowdsourcing’ and the ‘wisdom of the crowd’ over the past several years, including “Crowdsourcing” by Jeff Howe – a contributing editor at Wired magazine, and “Wisdom of the Crowd” by James Surowiecki – a staff writer at The New Yorker.

Crowdsourcing – “The act of taking a job traditionally performed by a designated agent (usually an employee) and outsourcing it to an undefined, generally large group of people in the form of an open call.” – Jeff Howe

‘Wisdom of the Crowd’ – “Refers to the process of taking into account the collective opinion of a group of individuals rather than a single expert to answer a question.” – Wikipedia

For those of you not familiar with crowdsourcing, here is a good video from Jeff Howe:

So, what will happen to ‘crowdsourcing’ and ‘wisdom of the crowd’ as more and more companies start to employ these techniques.

Will the crowd remain wise or lose its predictive powers?

One thing is certain. Organizations will continue to use ‘crowdsourcing’ and ‘wisdom of the crowd’ together to help them find ideas that will resonate with their targets.

Organizations will, however, have to work harder to market their initiatives as the competition increases for people’s time, if they are to maximize the value they accrue from the effort.

What do you think?

ที่มา : bradenkelley.com

ปล. เดี๋ยวค่อยมาแปลนะครับ

โดย Little Bear on 18 พ.ค. 55 21:49

พลังของมวลชน

"ในอดีต เราเคยประเมินคุณค่าของการเข้าถึงข้อมูลไว้มากจนเกินไป และ เรามักจะประเมินคุณค่าของการเข้าถึงซึ่งกันและกันไว้น้อยจนเกินไป" - Clay Shirky

เทคโนโลยี - เปิดโอกาสให้เราได้ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกันมากขึ้น ทำให้เราฉลาดขึ้น และช่วยให้เราคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ด้วยปัญญาของฝูงชน เทรนด์ใหม่ของการบริโภคคือพฤติกรรมการบริโภคร่วมกัน (Collaborative Consumption) และ กฎการปะทะ (the rules of engagement) แล้วอะไรคือศักยภาพที่แท้จริงของคราวด์ซอร์สซิง? นี่คือปรากฏการณ์ใหม่ หรือ หนังเก่าที่เราเคยดูมาแล้ว?

The Power Of Crowds.

"Historically, we have overestimated the value of access to information, and we have always underestimated the value of access to each other." - Clay Shirky

Technology-enabled collaboration draws us closer, makes us smarter and allows us to innovate through the wisdom of a crowd. A new wave of collaborative consumption is transforming consumerism and the rules of engagement. What is the true potential of crowdsourcing? Is this a new phenomenon - or have we seen this movie before?

ที่มา npr.org

ปล. พยายามแปลแล้ว ไม่รู้ว่าถูกต้องหรือเปล่า ใครมีไอเดียอะไรช่วยออกความเห็นด้วยนะครับ

โดย Little Bear on 18 พ.ค. 55 21:12

Crowdsourcing 5 : ความรู้ของมวลชน

เอฟ.เอ. ฮาเยค - Friedrich August Hayek นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี ค.ศ. 1974 แห่งมหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน (London School of Economics and Political Science) เขียนว่า

“สมาชิกแต่ละคนในสังคมมีความรู้เพียงส่วนเสี้ยวเล็ก ๆ เท่านั้นเมื่อเทียบกับทั้งหมด และแต่ละคนก็มักละเลยข้อเท็จจริงส่วนใหญ่ซึ่งอยู่ในสังคม...ความเจริญตั้งอยู่บนพื้นฐานความจริงที่ว่า เราทุกคนล้วนได้ประโยชน์จากความรู้ที่เราไม่มีอยู่ และหนึ่งในวิธีที่ความเจริญช่วยให้เราก้าวข้ามข้อจำกัดเกี่ยวกับขอบเขตความรู้ของแต่ละคนได้ก็คือการพิชิตความละเลย ซึ่งไม่ใช่การหาความรู้เพิ่มเติม แต่เป็นการนำความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่กับแต่ละคนมาใช้ให้เกิดประโยชน์” (ฮาวี 2554,170) ซึ่งอินเทอร์เน็ตได้กลายมาเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถรวบรวมและนำความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้เป็นอย่างมาก

เงื่อนไขของความหลากหลายที่จะช่วยให้มวลชนสามารถแก้ไขปัญหาได้คือ 1. ปัญหานั้นต้องเป็นปัญหาที่ยุ่งยากจริง ๆ 2. มวลชนต้องมีคุณสมบัติบางประการที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหานั้น ๆ ได้ทันที นั่นคือมีความสามารถ มีความพร้อม มีความรู้ มีระบบในการรวบรวมและจัดการ 3. ผู้เข้าร่วมกลุ่มต้องถูกคัดเลือกมาจากเครือข่ายที่ใหญ่เพียงพอและต้องรับประกันได้ว่ามีความหลากหลายในแง่ของวิธีการแก้ไขปัญหา มีความสามารถในการแสดงมุมมองที่เป็นของตนเอง สามารถดึงความรู้เฉพาะตัวมาใช้ได้อย่างเต็มที่ (ฮาวี 2554,74)

เป็นเรื่องที่น่าสนใจที่การสุ่มคนจากจำนวนมากมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อนสูงได้ ในขณะที่ทีมแบบดั้งเดิมไม่สามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้

ปัญญารวมหมู่จึงเป็นการใช้ความรู้ความสามารถ พลังความคิดสร้างสรรค์ หรือการตัดสินใจของมวลชน มาใช้ในการตอบปัญหาหรือแก้ปัญหาบางอย่างที่มีความซับซ้อน โดยใช้มวลชนจำนวนมากมาร่วมมือกันในการทำงานนั้นให้สำเร็จ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะได้ผลลัพท์ที่เทียบเท่าหรือดีกว่าผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านและใช้เวลาที่น้อยกว่าในการทำงานให้บรรลุผลสำเร็จ

โดย Little Bear on 16 พ.ค. 55 15:21

  • Case manager : มีผู้ดูแลเคส รายงานสรุปของกรณีคนไข้
  • เป็นไปได้ไหมที่จะดึง case มาจาก social media ของกลุ่ม?
  • การ discharge : เสียชีวิต หายจากความพิการ
  • เก็บข้อมูล ทั้งคนพิการที่ขึ้นทะเบียนแล้ว และคนพิการที่รอ พิการที่เห็นด้วยสายตา
  • การสังกัดองค์กรของคนพิการ (สมาคม,ชมรม ฯลฯ) ซึ่งมีโอกาสที่จะสังกัดหลายองค์กรได้
  • สร้างคำนิยาม เช่น ผู้ป่วย คือ ? คนพิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มบุคคลผู้ต้องการพิเศษ Specialnist
  • รายงานคนพิการตามพื้นที่ทะเบียนบ้าน (พ่วงอยู่ในรายงานตามพื้นที่อาศัยปัจจุบัน)
  • รายงานคนพิการที่บัตรจะหมดอายุในเร็ว ๆ นี้
  • Export JHCIS => Import to iMed@home

โดย Little Bear on 15 พ.ค. 55 19:30

Crowdsourcing 4 : โครงการคลิกเวิร์กเคอร์ส

คลิกเวิร์กเคอร์สเป็นโครงการเล็ก ๆ ของนาซ่า โดยบ๊อบ คาเนฟสกี้ วิศวกรซอฟท์แวร์ของอะเมสรีเสิร์จเซ็นเตอร์ของนาซ่า ได้นำแนวคิดโอเพ่นซอร์สมาใช้กับสาขาวิชาธรณีวิทยานอกโลก เพื่อแก้ไขปัญหาในการระบุและวัดขนาดปากปล่องภูเขาไฟจากภาพถ่ายดาวเทียมภูมิประเทศเพื่อค้นหาหลักฐานเกี่ยวกับน้ำบนดาวอังคาร ซึ่งเป็นงานที่ไม่ยากแต่ต้องใช้แรงงานมหาศาล คาเนฟสกี้นำภาพดาวอังคารทั้งหมดขึ้นไปอยู่ในระบบออนไลน์และเชื้อเชิญมือสมัครเล่นให้มาช่วยกันทำงานระบุและวัดขนาดของลักษณะภูมิประเทศจากภาพเหล่านั้น ก่อนที่จะเริ่มมอบงานให้มวลชนช่วยทำงานจริง เขาได้ทำการทดสอบกับเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งกับภาพจำนวน 88,000 ภาพโดยให้ระบุ แยกประเภท และวัดขนาดหลุมตกกระแทกทุกหลุมที่ปรากฏในภาพ การทดสอบใช้เวลาถึง 2 ปีจึงจะทำงานเสร็จสิ้น

นาซ่านำภาพทั้งหมดเข้าสู่ระบบออนไลน์และขอความร่วมมือจากชุมชนนักดาราศาสตร์สมัครเล่นให้เข้ามช่วยเหลือในการวิเคราะห์ภาพ โดยสร้างโปรแกรม “คลิกเวิร์กเคอร์ส” มาเป็นเครื่องมือสำหรับการทำงาน โดยนำผลที่ได้มาเปรียบเทียบกับชุดข้อมูลควบคุม (ฐานข้อมูลที่จัดการเรียบร้อยแล้ว) ภายใน 1 เดือน มีนักดาราศาสตร์สมัครเล่นหลายพันคนเข้ามาช่วยกันวิเคราะห์ภาพจนครบทุกภาพและมีความถูกต้องในระดับใกล้เคียงกับมืออาชีพ โดย 37% ของโครงการเป็นผลงานของอาสาสมัครที่เข้ามาช่วยงานเพียงแค่ครั้งเดียว

แนวคิดของโครงการนี้คือ แบ่งงานออกเป็นหน่วยเล็ก ๆ ที่แยกจากกันโดยเด็ดขาด ปริมาณงานอันมหาศาลถูกแจกจ่ายออกไปทั่วทั้งเครือข่ายชุมชนนักดาราศาสตร์โดยไม่มีการจำกัดจำนวนของผู้ที่ต้องการเข้ามาร่วมงาน และใช้ประโยชน์จากคนที่มีเวลาว่างเพียงแค่ไม่กี่นาทีให้มาช่วยกันทำงาน (เจฟฟ์ ฮาวี, 2008:81-84)

ปล. โครงการนี้ผมก็ไม่เคยได้ยินมาก่อนเลยเหมือนกัน เพิ่งมาอ่านเจอในหนังสือ "ล้านคลิก พลิกโลก" เห็นว่าเป็นโครงการเล็ก ๆ ไม่โด่งดัง แต่น่าสนใจในกระบวนการคิด พยายามหารายละเอียดในเว็บก็ไม่เจอ อยากรู้รายละเอียดของการทำงานรวมทั้งซอฟท์แวร์ที่เขาเขียนขึ้นมาด้วย

โดย Little Bear on 15 พ.ค. 55 19:16

Crowdsourcing 3 : ปัญญารวมหมู่ Crowd wisdom

เจมส์ สุโรเวกกี้ (James Surowiecki) เขียนแนวคิดเกี่ยวกับปัญญารวมหมู่ไว้ในหนังสือเรื่อง “The Wisdom of Crowds” เมื่อปี ค.ศ. 2004 ว่า

“After all, think about what happens if you ask a hundred people to run a 100-meter race, and then average their times. The average time will not be better than the time of the fastest runners. It will be worse. It will be a mediocre time. But ask a hundred people to answer a question or solve a problem, and the average answer will often be at least as good as the answer of the smartest member. With most things, the average is mediocrity. With decision making, it’s often excellence. You could say it’s as if we’ve been programmed to be collectively smart.” (James Surowiecki,2004)

ระดับของความสำเร็จในการแก้ปัญหานั้นขึ้นอยู่ปริมาณของผู้คนจำนวนมากที่เข้ามาร่วมแก้ปัญหา หากเราขอให้คนร้อยคนวิ่งแข่งร้อยเมตรแล้วหาเวลาเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยของเวลาจะไม่มีทางดีกว่าเวลาของคนที่วิ่งเร็วที่สุด แต่ถ้าขอให้คนร้อยคนมาตอบปัญหาหรือแก้ปัญหาสักอย่างแล้ว ค่าเฉลี่ยของของคำตอบมักจะอย่างน้อยก็ดีเทียบเท่ากับคำตอบของคนที่ฉลาดที่สุดในกลุ่ม กับเรื่องส่วนใหญ่แล้วค่าเฉลี่ยของการตัดสินใจของคนธรรมดามักจะยอดเยี่ยม สิ่งนี้เรียกว่า ความฉลาดรวมหมู่ (collectively smart)

สุโรเวกกี้ได้หยิบยกประเด็นเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่ามวลชนได้พิสูจน์ตนเองแล้วว่าพวกเขาฉลาดกว่าสมาชิกที่ฉลาดที่สุด เช่น มวลชนตามงานออกร้านในชนบทของอังกฤษสามารถทายน้ำหนักของวัวที่ได้รางวัลโดยคลาดเคลื่อนไม่เกิน 1 ปอนด์ หรือผู้ชมรายการเกมส์โชว์ Who Wants to Be a Millionaire สามารถเอาชนะผู้เชี่ยวชาญที่เดาคำตอบได้ถูกต้องเพียง 65% ในขณะที่ผู้ชมกลับเดาคำตอบได้ถูกต้องถึง 91% โดยหลักการมาจากว่า หากคนเพียงไม่กี่คนในกลุ่มรู้คำตอบ ก็จะส่งผลให้กลุ่มสามารถทายคำตอบได้ถูกต้อง โดยคำตอบที่มีคนตอบมากที่สุดมักจะเป็นคำตอบที่ถูกต้อง

ปัญญารวมหมู่ในความหมายของ เจฟฟ์ ฮาวี เป็นการรวบรวมความรู้จากหลาย ๆ คนเพื่อนำมาใช้แก้ไขปัญหา ทำนายผลลัพท์ในอนาคต หรือควบคุมทิศทางกลยุทธขององค์กร เป็นรูปแบบการรับรู้เป็นกลุ่มที่คล้ายคลึงกับการทำงานภายในอาณาจักรมด ซึ่งมดแต่ละตัวต่างทำงานเสมือนเป็นเซลล์ในสิ่งมีชีวิตตัวเดียวกัน หรือการเลือกตั้งของมนุษย์ที่คนหลายล้านคนต่างลงคะแนนเพื่อให้ได้มติเพียงหนึ่งเดียว (เจฟฟ์ ฮาวี,2008:163)

โดย Little Bear on 15 พ.ค. 55 18:03

Crowdsourcing 2 : วิกิพีเดีย

ลาร์รีย์ แซงเกอร์ อดีตศาสตราจารย์ด้านปรัชญา มีความคิดที่สร้างสารานุกรมรูปแบบใหม่ และได้มาเจอกับนักลงทุน จิมมี่ เวลส์ ทั้งสองมีแนวคิดตรงกันในทำสารานุกรม ซึ่งเรียกว่า นูพีเดีย (Nupedia) โดยนูพีเดียจะรวบรวมสาระความรู้จากผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ แต่สิ่งที่แตกต่างไปจากสารานุกรมแบบดั้งเดิมคือ เป็นสารานุกรมที่สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากอินเตอร์เน็ต ไม่เสียค่าใช้จ่าย และเป็นสารานุกรมที่เขียนโดยอาสาสมัคร โครงการเริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ. 2000มีการทาบทามผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ให้มาช่วยกันเขียนบทความ เพื่อให้งานมีความน่าเชื่อถือจึงมีการคิดค้นวิธีกลั่นกรองงานของผู้เขียนหลายขั้นตอน งานทุกชิ้นที่ส่งเข้ามาจะถูกตรวจพิจารณาที่ยากและยาวนานเจ็ดขั้นตอน กว่าจะได้รับการเผยแพร่ ในระยะแรกมีบทความเพียง 2-3 ชิ้นที่ผ่านกระบวนการตรวจพิจารณาและเผยแพร่บนเว็บไซต์ ผ่านไปอีกหลายเดือนก็มีบทความเพิ่มขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง เวลล์และแซงเกอร์คาดหวังว่าในหลายเดือนถัดมาจะมีบทความเข้ามาเป็นจำนวนมาก แต่เหตุการณ์นั้นก็ไม่เกิดขึ้น ก่อนที่แซงเกอร์จะพบปะกับเบน โควิทซ์ วิศวกรสื่อสารสนเทศ นูพีเดียมีบทความที่นำเสนอเพียง 10 กว่าบทความเท่านั้น เบนได้แนะนำให้แซงเกอร์ได้รู้จักกับ วอร์ด คันนิงแฮม โปรแกรมเมอร์ที่ได้เขียนโปรแกรมชื่อ วิกิวิกิเว็บ (WikiWkikWeb) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ช่วยให้โปรแกรมเมอร์สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ง่าย ๆ และโปรแกรมนี้ยังสามารถนำไปใช้กับงานอื่น ๆ ได้อย่างกว้างขวางอีกด้วย เป็นโปรแกรมที่อนุญาตให้ผู้ใช้ไม่จำกัดจำนวนสามารถเข้าไปสร้างและแก้ไขข้อความในแต่ละหน้าของเว็บเพจได้อย่างสะดวก มีการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการแก้ไขไว้ทุกครั้ง ทำให้ทุกคนสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงข้อมูลและใครเป็นผู้เปลี่ยนแปลง ซึ่งวิธีการนี้สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยร่นกระบวนการต่าง ๆ ในการเขียน แก้ไข และตรวจพิจารณาบทความให้เร็วขึ้น

ปี ค.ศ. 2001 แซงเกอร์ ได้นำวิกิเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของนูพีเดีย โดยเป็นช่องทางให้ทุกคนเข้ามาเพิ่มเติมเนื้อหาต่าง ๆ ก่อนป้อนเข้าสู่กระบวนการของนูพีเดีย ภายใน 3 สัปดาห์ มีผู้เขียนจากที่ต่าง ๆ ได้สร้างสรรค์บทความ 17 บทความ และเพิ่มขึ้นเป็น 150 บทความในอีก 1 เดือนถัดมา และเพิ่มขึ้นอีก 4 เท่าในเดือนต่อมา จนสิ้นเดือนสิงหาคม 2001 ก็มีบทความถึง 3,700 บทความ นับเป็นอัตราการเติบโตที่เร็วที่สุดตั้งแต่สร้างนูพีเดีย พร้อมกับจำนวนผู้เขียนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน เมื่อสิ้นปี ค.ศ. 2001 วิกิพีเดียก็มีบทความ 15,000 ชิ้น และยังคงเพิ่มขึ้นด้วยอัตราเติบโตแบบคงที่ (เจฟฟ์ ฮาวี, 2008:76-81) จากสถิติที่แสดงในหน้าเว็บไซท์ของ wikipedia.com ปัจจุบันวิกิพีเดียมีบทความภาษาอังกฤษ 3.9 ล้านชิ้น รวมทุกภาษามีถึง 27.2 ล้านชิ้น และผู้เขียน 16.7 ล้านคน (WikiPedia, 2012-1) ซึ่งมากกว่าสารานุกรมบริแทนนิกาออนไลน์ซึ่งมีบทความอยู่เพียง 120,000 ชิ้นเท่านั้น (WikiPedia, 2012-2)

โดย Little Bear on 15 พ.ค. 55 17:33

Crowdsourcing 1 : ปฐมบทของการถ่ายโอนงานให้มวลชน

(กำลังเขียนโครงร่างวิทยานิพนธ์เรื่อง "การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพด้วยกระบวนการคราวด์ซอร์สซิง" เลยขอใช้พื้นที่นี้เป็นการบันทึกความคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับคราวด์ซอร์สซิงเอาไว้)

เจฟฟ์ ฮาวี ได้ให้คำนิยามคำว่า คราวด์ซอร์สซิง หรือ การถ่ายโอนงานให้มวลชน เอาไว้ว่า :

“Simply defined, crowdsourcing represents the act of a company or institution taking a function once performed by employees and outsourcing it to an undefined (and generally large) network of people in the form of an open call. This can take the form of peer-production (when the job is performed collaboratively), but is also often undertaken by sole individuals. The crucial prerequisite is the use of the open call format and the large network of potential laborers.” (Howe,2006)

จากที่ได้ประมวลมาคร่าว ๆ ได้ความว่า คราวด์ซอร์สซิ่ง นั้นเป็นการร่วมสร้างสรรค์ของกลุ่มคน(Crowd) เพื่อร่วมกันทำหรือสร้างสิ่งต่างๆ รวมถึงแก้ไขปัญหาร่วมกันเป็นกระบวน ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตเข้ามาขับเคลื่อนวงจรสมรรถนะส่วนเกินของบุคคล เช่นเวลาหรือพลังงานที่เหลือจากการทุ่มเททำงานให้นายจ้างและครอบครัว มาร่วมกันปฏิบัติการตามความปรารถนาของตนเองโดยมีผู้อื่นร่วมอยู่ในเส้นทางเดียวกัน โดยมีอินเตอร์เน็ทเป็นช่องทางในการสื่อสารและแลกเปลี่ยน จนส่งผลให้เกิดการสร้างสรรค์สารสนเทศซึ่งเป็นผลผลิตอันทรงคุณค่าของเศรษฐกิจยุคข้อมูลข่าวสารขึ้นมามากมาย โดยใช้หลักการของปัญญารวมหมู่(Crowd Wisdom) และ การถ่ายโอนเงินทุน(Crowd funding) ที่มีหลักปรัชญาคือคนกลุ่มใหญ่ย่อมมีความรู้มากกว่าคนคนเดียว เคล็ดลับอยู่ที่การสร้างเงื่อนไขหรือแรงจูงใจเพื่อสนับสนุนให้มวลชนแสดงความรู้ที่ตนมีออกมาสู่สาธารณะ

611 items|« First « Prev 29 30 (31/62) 32 33 Next » Last »|