จับกระแสโลกเอาต์ซอร์สซิ่ง
บริการเอาต์ซอร์สซิ่งได้รับการจับตามองจากบรรดานักวิเคราะห์ว่าจะกลับยึดพื้นที่ในตลาดไอทีได้อีกครั้ง แม้ว่าอาจจะอยากสักหน่อยก็ตาม เนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ผ่านมา ทำให้เกิดปัญหาทั้งในแง่ของสัญญาว่าจ้างที่ติดเงื่อนไขมากมาย บริการคลาวด์ที่ทำให้ไม่ต้องใช้พนักงานมากนัก ปัญหาแรงงานเฟ้อแต่ขาดคุณภาพ เป็นต้น
และนี่คือแนวโน้มของบริการของเอาต์ซอร์สซิ่งที่จะเกิดในปีนี้ (2011) ซึ่งดูเหมือนจะยังมีแนวโน้มที่ดีอยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย ลองไปติดตามกัน
ตลาดเอาต์ซอร์สซิ่งดูดีขึ้น
ในปีนี้มีการมองว่าการว่าจ้างบริการไอทีจะถูกบีบด้วยสัญญาว่าจ้างที่มีมูลค่าน้อยลง โดยเฉพาะบรรดาองค์กรที่เคยใช้บริการมาก่อนในปีที่ผ่านมาซึ่งจะว่าไป องค์กรส่วนหนึ่งนอกจากจะไม่ใช้บริการเอาต์ซอร์สซิ่งแล้วยังปลดพนักงานอีกด้วย นักวิเคราะห์หลายคนกล่าว แต่บรรดาผู้ให้บริการเอาต์ซอร์สซิ่งก็ยังคงรู้สึกดีที่ยังมีงานต่อเนื่อง และจะทำให้สามารถรักษาความสัมพันธ์ และฐานลูกค้าเอาไว้ได้ ซึ่งจะส่งผลให้บริการเอาซอร์สซิ่งจะค่อยๆได้รับความนิยมขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดย Phil Fersht ผู้ก่อและนักวิเคราะห์ด้านเอาต์ซอร์สซิ่งจากสถาบันวิจัย Hfs คาดการณ์ว่าตลาดเอาต์ซอร์สซิ่งน่าจะค่อยๆเขยิบตัวขึ้นแทนที่จะเป็นไปแบบพุ่งพรวด
ตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
จากภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงฟื้นตัวช้า ทำให้ผู้บริหารฝ่ายไอทีต้องเริ่มต้นควานหาเอาต์ซอร์สซิ่งมือดีที่จะเข้ามาช่วยลดต้นทุนในการปฏิบัติงาน‘‘สัญญาจ้างในส่วนของเอาต์ซอร์สซิ่งเปรียบเหมือนกับถุงเงินถุงทองที่เอามากองรวมๆกันแล้วมีมูลค่าหลายพันล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว’’Mark Ruckman ที่ปรึกษาเอาต์ซอร์สซิ่งอิสระ โดยลูกค้าส่วนใหญ่อาจจะกำลังพิจารณาถึงเรื่องของความคุ้มค่าภายใต้สัญญาว่าจ้างเดิม ขณะที่อีกส่วนหนึ่งอาจจะต้องการเปลี่ยนแปลงผู้รับงานจากผู้ให้บริการรายใหญ่มาเป็นรายเล็กในพื้นที่หรือท้องถิ่นแทน
กำเนิดคลาวดซอร์สซิ่ง
ปัจจุบันมีการพูดถึงบริการที่เกี่ยวข้องกับคลาวด์จากบรรดาผู้ให้บริการ ซึ่งถือเป็นประเด็นใหญ่ในแวดวงอุตสาหกรรมขณะนี้ ‘‘การถือกำเนิดและเกิดขึ้นของตลาดคลาวด์ซอร์สซิ่ง มีที่มาจากตลาดซอร์สซิ่งก็เริ่มแผ่วลงอย่างที่ทราบกัน’’Ben Trowbridge ซีอีโอของบริษัทที่ปรึกษาด้านเอาต์ซอร์ซิ่งของ Alsbridge กล่าว‘‘แต่การรวมกันของสองตลาดนี้ น่าจะส่งผลดี เนื่องจากคลาวด์ซอร์สซิ่งจะช่วยผลักดันให้เอาต์ซอร์สซิ่งกลับมาผงาดได้อีกครั้งหนึ่งในตลาด’’
ในตลาดคลาวด์ ผู้ให้บริการอย่างอเมซอน กูเกิ้ล และ Rackspace ต่างก็กำลังห้ำหั่นกับผู้ให้บริการไอทีรายใหญ่ๆ หน้าเดิมๆ อย่าง เอชพีหรือไอบีเอ็ม อย่างหนักหน่วง เนื่องจากมีทีมงานและประสบการณ์ในการให้บริการเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว‘‘หนึ่งในผู้บริหารของผู้ให้บริการเหล่านี้ได้ให้ข้อมูลว่าพวกเขาต่างก็พยามรักษาผลกำไรของบริษัทเอาไว้ และทำให้คาดการณ์กันว่าบางบริการอาจจะมีราคาถูกลงถึงร้อยละ 70 ภายในปีหน้านี้’’ Trowbridge กล่าว
ขณะที่การควบรวมกิจการของบรรดาผู้ให้บริการถือเป็นอะไรที่ไม่ค่อยเข้าเท่านักภายใต้แนวทางของพวกเขาเอง รวมถึงตัวลูกค้าด้วย เนื่องจากอาจมีปัญหาเรื่องรอยต่อของระบบทั้งใหม่และเก่า‘‘ระบบไอทีกำลังมุ่งไปสู่การผสมผสานโดยการเพิ่มพอร์ทโฟลิโอของการโฮสติ้งสำหรับแอพพลิเคชันจากภายนอก’’ Brian Walker กรรมการผู้จัดการของ EquaTerra‘‘ธีมในปีนี้คือ การผสมผสานระหว่าง SaaS ขององค์กรเองและจากภายนอก’’
การเจรจาหลังบ้านอาจเพิ่มความเสี่ยง
มีการถกเถียงและปรึกษาหารือ รวมไปถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับการนำเสนอบริการคลาวด์ ว่าควรจะได้รับการดูแลจากหน่วยธุรกิจนั้นหรือด้วยฟังก์ชั่นของระบบเอง แต่กลับมองข้ามหน่วยงานด้านไอที ซึ่งมีความสำคัญ และนั่นอาจจะทำให้เกิดปัญหาได้ Kamran Ozair รองประธานฝ่ายบริหารและซีทีโอของบริษัท MindTree กล่าว โดยซีไอโอจะต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจและพลังในชี้นำหรือเลือกใช้แอพพลิเคชันประเภท SaaS มากกว่าทางฝั่งธุรกิจที่อาจจะนำไปสู่การตัดใจที่อยู่บนความเสี่ยงที่มิอาจประเมินค่าได้ Trowbridge กล่าว"เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ต้องการคลาวด์ และพวกเขารู้ว่าซีอีโอที่ดีจะต้องลดความเสี่ยงดังกล่าวนี้ได้ อย่างไรก็ตามผู้ให้บริการไอทีควรจะนำเสนอขั้นตอนหรือกระบวนทำงานของคลาวด์ให้เจ้าของธุรกิจมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจน ไม่เช่นนั้นพวกเขาอาจจะต้องพบความเสี่ยงบนช่องว่างระหว่างความต้องการธุรกิจและการตอบสนองของฝ่ายไอทีได้’’
จุดจบของการทำตามความต้องการของผู้ว่าจ้าง
ลูกค้าจำนวนมากยอมเปิดเผยกระบวนการทำงานภายในและยอมรับบริการตามมาตรฐานมากขึ้นในปีนี้ Bob Mathers หัวเรือใหญ่ในด้านการให้คำปรึกษาการบริหารจัดการแนวทางการให้บริการไอทีกล่าว ผู้ให้บริการจะเริ่มให้ความสำคัญในส่งมอบงานให้ได้ตามมาตรฐานเสียก่อน เพื่อต่อสู้กับการรัดเข็มขัดทางธุรกิจของลูกค้าเพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าการทำตามความต้องการของลูกค้าจะทำให้รายจ่ายในการลงทุนด้านไอทีเพิ่มขึ้นนั่นเอง แต่ในทางกลับกันหากภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมา ทุกสิ่งทุกอย่างก็อาจจะกลับไปเป็นเหมือนเดิม Stan Lepeak กรรมการผู้จัดการของ EquaTerra สถาบันวิจัยที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเอาต์ซอร์สซิ่ง กล่าว โดยบอกว่าเมื่อนั้นระบบการประมวลผล, เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงและมาตรฐานของที่ตั้งหรือสถานที่ของศูนย์ข้อมูลจะถูกรวมอยู่ในโซลูชันที่เป็นแพลตฟอร์มอีกด้วย
ราคาที่พอคุยกันได้
เชื่อแน่ว่าองค์กรส่วนใหญ่คงจะคุ้นเคยต่อรองราคากับผู้ให้บริการมาบ้าง ซึ่งเป็นธรรมดาที่ผู้ให้บริการเอาต์ซอร์สซิ่งเองพยามที่จะนำเสนอจุดขายในแง่มุมของประสิทธิภาพในการทำงาน เพื่อปกป้องและรักษาราคาและการบริการของพวกเขา David Rutchik คู่ค้าของ Pacr Harmon บริษัทที่ปรึกษาด้านเอาต์ซอร์สซิ่งกล่าว‘‘แต่การลดราคาลงบ้างก็ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องเสียหายเท่าไหร่นักในสภาพเศรษฐกิจแบบนี้’’
และเชื่อแน่ว่าลูกค้าเองก็พยามค้นหาและศึกษาเกี่ยวรูปแบบทางธุรกิจของผู้รับงาน, โครงสร้างของสัญญาและแผนการดำเนินงานทางธุรกิจ, ตัวขับเคลื่อนมูลค่าของสินค้าหรือบริการ ขณะที่ผู้ให้บริการก็พยามเกลี้ยกล่อมด้วยประสิทธิภาพกว่าที่จะลดราคา Peter Bendor-Samuel ซีอีโอของ Everest Group บริษัทที่ปรึกษาด้านเอาต์ซอร์สซิ่ง‘‘อย่างที่รู้กัน เราจะเห็นว่าบางครั้งการพิจารณาเพื่อเลือกใช้บริการก็เป็นไปแบบสะเปะสะปะ หรือไม่ก็ยังคงยึดแนวทางในกี่พูดคุยกับลูกค้าแต่เรื่องเดิมๆอย่างที่ได้กล่าวไป’’
ขณะที่บริการคลาวด์เองก็น่าจะถูกลดราคาลงในให้อยู่ในระดับที่พอรับได้ และลูกค้าก็น่าจะเข้าใจถึงสิ่งที่ผู้ให้บริการจัดให้ได้ดีขึ้น Dave Brown ของ EquaTerra บริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านไอทีกล่าว
ตะวันออกรวมเป็นหนึ่งกับตะวันตก
การรวมตัวของผู้ให้บริการด้านไอทีรายใหญ่ในอินเดียและบริษัทเอาต์ซอร์สซิ่งในสหรัฐอเมริกา กำลังจะเกิดขึ้นในปีหน้านี้ โดยบริษัทจากอินเดียจะเป็นเป็นผู้ซื้อ ขณะที่ทางฝั่งอเมริกาจะถูกปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานและในเรื่องเงินทุนให้เป็นหนึ่งเดียวกับทางฝั่งตะวันออก โดยทางอินเดียคงจะต้องทำการเพิ่มทักษะของทีมงานเพื่อเอาชนะคู่แข่งในตลาดทั้งจากเอเชียและยุโรปให้ได้‘‘การรวมตัวครั้งเหมือนกับการผสามรวมทางวัฒนธรรมระหว่างชาติตะวันออกและตะวันตก’’ Fersht จากสถาบันวิจัย HfS ‘‘ในปีนี้จะเราอาจะเห็นการควบรวมกิจการของยักษ์ใหญ่ทางด้านเอาต์ซอร์สซิ่งอย่างอินเดียรวมตัวกับในหนึ่งบริษัทจากชาติตะวันตก’’
‘‘เรื่องนี้คุยกันมานานแล้ว’’Joseph King ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของ MindTree‘‘ต่อไปนี้ซีไอโอจะไม่สามารถกดดันหรือบีบคั้นบริษัทคู่ค้าที่มาจากอินเดียได้อีกแล้ว ขณะเดียวกันก็จะทำให้บริษัทดังกล่าวถูกกระตุ้นในเรื่องของห่วงโซ่ของมูลค่า ภายใต้ระบบของการทำงานที่เชื่อมโยงกันนั่นเองในองค์กร’’
จีน บราซิล และอียิปต์ จะเป็นตลาดแรงงานสำคัญ
‘‘ขณะนี้หลายองค์กรในหลายประเทศได้หันมาให้ความสนใจกับการใช้บริการเอาต์ซอร์สซิ่งจากจีน บราซิล และอียิปต์มากกว่าอินเดียแล้ว’’Lepeak ของ EquaTerra กล่าว แม้ว่าปัจจุบันอาจจะต้องประสบกับปัญหาเรื่องของเงินเฟ้อและประชาชนตกงานอยู่บ้างก็ตาม เนื่องจากตลาดนี้มีมูลค่ามหาศาลนั่นเอง‘‘การเติบโตของทรัพยากรไอทีที่แข็งแกร่งจะเป็นไปตามแรงผลักดันทางเศรษฐกิจที่แข็งแรง อาทิ เช่น จีน บราซิลและอินเดีย รวมไปถึงประเทศแถบตะวันออกกลาง ทั้งนี้ประเทศที่ยังมีสภาพเศรษฐกิจแข็งแรงดีอยู่ถือเป็นตลาดใหญ่ เพราะมีความต้องการแรงงานไอทีมหาศาล’’ Bendor-Samuel จากบริษัท Everst กล่าว
การคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศยังเข้มข้น ไม่น่าแปลกใจหากอัตราการว่างงานในสหรัฐอเมริกาที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลทำให้มีการออกมาท้วงติงและหาแนวทางหรือข้อบังคับเพื่อจำกัดการใช้งานเอาต์ซอร์สซิ่งมากขึ้น
สำหรับการออกกฎหมายหรือข้อบังคับในลักษณะดังกล่าวมักจะมาจากความไม่พอใจในการสูญเสียผลประโยชน์ไม่ว่าเป็นจากทั้งนักการเมืองและนักธุรกิจหรือประชาชนในประเทศนั้นๆ Bendor-Samuel ให้ความเห็นว่า‘‘มาตรการหรือแนวทางนี้น่าจะล้มเหลวหรือไม่ผ่านการพิจารณาในร่างกฎหมาย เพราะยากที่จะนำไปใช้และทำการตรวจสอบได้จริง’’
น่าสนใจว่ามาตรการดังกล่าวจะประสบความสำเร็จหรือไม่ เนื่องจากภาวะตกงานของชาวสหรัฐ นอกจะมีเรื่องของเศรษฐกิจเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว ยังถูกมองในเรื่องของคุณภาพและค่าจ้างอีกด้วย ซึ่งในส่วนนี้บรรดาองค์กรธุรกิจทั้งหลายได้ออกมาแสดงความเห็นว่าพวกเขาควรจะต้องทำการปกป้องศักยภาพในการดำเนินงานของตนเองด้วย Bendor-Samuel กล่าว แต่ขณะเดียวกัน ก็ยังมีความกังวลเกี่ยวกับภาษี โดยเฉพาะในส่วนของการให้บริการลูกค้าโทรศัพท์ ซึ่งอาจมีการหันไปใช้ระบบบริการตัวเองหรือระบบอัตโนมัติแทนการใช้พนักงานจริง
เอาต์ซอร์สซิ่งจับมือระบบอัตโนมัติ
‘‘เป็นการยากที่บรรดาผู้ให้บริการเอาต์ซอร์สซิ่งจะมีผลกำไรดีที่ดีในช่วงนี้’’ Lepeak จาก EquaTerra โดยมีทั้งความกดดันจากการพยามรักษาลดต้นทุนหรือประหยัดงบประมาณ รวมไปถึงการเรียกร้องประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังต้องพึ่งพาระบบอัตโนมัติ ซึ่งขัดแย้งกับแนวทางของเอาต์ซอร์สซิ่งด้วยในบางครั้ง Rutchik ของ Pace Harmon กล่าว
ผู้ให้บริการก็มีการประยุกต์ใช้แอพพลิเคชันที่ช่วยทำงานพนักงานได้ ทำให้สามารถลดจำนวนการว่าจ้างลงได้ และอีกทั้งยังเป็นผลดีเมื่อลูกค้าต้องการรองราคาอีกด้วย Brown จาก EquaTerra กล่าวว่า‘‘เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการสร้างโอกาสในการลดอุปสรรคทั้งการค้นหาทีมงานและต้นทุนในการว่าจ้าง โดยเฉพาะแอพพลิเคชันสำคัญทางธุรกิจ ซึ่งต้องใช้ทีมงานที่มีประสบการณ์และความสามารถสูง’’
การเคลื่อนย้ายแรงงานไอที
แม้ว่างานไอทีในองค์กรและการเข้าถึงลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่อาจจะเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ให้บริการเอาต์ซอร์สซิ่งจะต้องทำให้ได้ แต่ในขณะเดียวกันผู้ให้บริการไอทีหลายรายก็ถึงกับปลดพนักงานเอาต์ซอร์สซิ่งในปีนี้ Bendor-Samuel กล่าว ขณะที่ผู้ให้บริการบางรายได้สร้างปรากฏการณ์บางอย่างจากผู้ให้บริการอีกเจ้าที่ซื้อมา เพื่อการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทั้งทางด้านราคาและประสิทธิภาพ ทั้งนี้อาจจะมีการหันไปใช้บริการพนักงานไอทีในประเทศที่มีค่าแรงต่ำกว่า ซึ่งการเคลื่อนย้ายแรงย้ายไอทีแบบสะเปะสะปะในลักษณะนี้ อาจจะทำให้เกิดปัญหาในด้านคุณภาพของการทำงานรวมไปถึงการใช้ภาษาของพนักงานด้วย Bendor-Samuel กล่าว
ที่มา c4zone.com
Relate topics
- Outsourcing
- Crowdsourcing Weather Data
- Verily: Crowdsourced Verification for Disaster Response
- Crowdsourcing 7 : Paypal ใช้ crowd ในการแจ้ง bug ด้านความปลอดภัย
- Crowdsourcing 7 : คราวด์ซอร์สซิงด้วยเครือข่ายสังคมออนไลน์
- “ความคิดดี ๆ” มาจากไหน
- 10 เทรนด์ร้อนโซเชียลมีเดีย ปี 2012
- Crowdsourcing 7 : คราวด์ซอร์สซิง - แฟชั่นสมัยนิยมหรือองค์ประกอบพื้นฐานกันแน่?
- Crowdsourcing 6 : The Power Of Crowds
- Crowdsourcing 5 : ความรู้ของมวลชน
- Crowdsourcing 4 : โครงการคลิกเวิร์กเคอร์ส
- Crowdsourcing 3 : ปัญญารวมหมู่ Crowd wisdom
- Crowdsourcing 2 : วิกิพีเดีย
- Crowdsourcing 1 : ปฐมบทของการถ่ายโอนงานให้มวลชน
- First Infographic on Top 5 Design Crowdsourcing Sites
- วิธีทำให้คราวด์ซอร์สซิ่งของคุณประสบความสำเร็จ