Topic List
ตัวแปรสำคัญที่สามารถจะอธิบายถึงลักษณะผลตอบแทนของ บัฟเฟตต์ ออกมาก็คือ
Safe : ความปลอดภัย หรือความผันผวนของหุ้นที่ต่ำกว่าตลาด โดยพวกเขาได้พบว่า บัฟเฟตต์ มักเลือกซื้อหุ้นที่มีความผันผวนที่ต่ำกว่าตลาดอยู่เสมอ (เช่น Low Volatility or Low Beta)
Cheap : ราคาที่ถูก หรือ ส่วนต่างของราคากับมูลค่าของหุ้นในขณะนั้น โดยพวกเขาได้พบว่า มักเลือกซื้อหุ้นในราคาที่ถูกกว่ามูลค่าอยู่เสมอ (เช่น Low Value or Low Price-to-Book Ratio)
Quality : กิจการที่ดี หรือ ความสม่ำเสมอของผลกำไร อัตราการเติบโต และอัตราการจ่ายเงินปันผลที่สูง (Payout Ratio) โดยพวกเขาได้พบว่า บัฟเฟตต์ มักเลือกซื้อหุ้นที่มีคุณภาพของกิจการที่ดีอยู่เสมอ
ลองอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ mangmaoclub.com
TerraBKK Research เป็นผู้รวบรวมข้อมูลรายชื่อบริษัทไทยที่มี ROE มากกว่า 25% ที่น่าสนใจเอาไว้ให้ไปลองศึกษาเพิ่มเติมในหุ้นที่น่าสนใจ
ที่มา terrabkk.com
เครดิตภาพจาก www.aommoney.com
ได้อ่านบทความ 3 ตัวช่วย รวยด้วยหุ้นเทคนิค ที่ ออมมันนี่ เขียนเอาไว้ อ่านแล้วมองเห็นภาพอะไร ๆ ได้ดีขึ้นมาอีกเยอะ เลยขอเก็บเองลิงก์มารวบรวมไว้อีกรอบนะครับ
ตอนที่ 1 ทำความรู้จักกับ Indicators
ตอนที่ 2 ทำความรู้จักกับ EMA
ตอนที่ 3 วิธีใช้งานเส้น EMA ที่ไม่ถูกต้อง
ตอนที่ 4 วิธีใช้งานเส้น EMA ที่ถูกต้อง
ตอนที่ 5-1 ทำความรู้จัก MACD
ตอนที่ 5-2 ทำความรู้จัก Signal Line และ MACD Histogram
ตอนที่ 6 วิธีใช้งาน MACD ที่ไม่ถูกต้อง
ตอนที่ 7 วิธีใช้งาน MACD ที่ถูกต้อง
ตอนที่ 8 ทำความรู้จัก RSI
ตอนที่ 9 วิธีใช้งาน RSI ที่ไม่ถูกต้อง
ตอนที่ 10 วิธีใช้งาน RSI ที่ถูกต้อง
ตอนที่ 11 4 คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับ Indicators ที่มือใหม่ต้องรู้
ข้อที่ 1: เทรดโดยไม่มีหลักการ
“ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าทำไมคุณถึงซื้อหุ้นตัวนั้น คุณก็จะไม่รู้ว่าควรขายมันตอนไหน ซึ่งนั่นมักจะทำให้คุณขายหุ้นทิ้งตอนที่ราคาของมันทำให้คุณกลัว ทั้งๆที่โดยส่วนมากแล้ว เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณกลัวราคาหุ้นในขณะนั้น มันคือโอกาสซื้อ ไม่ใช่จุดบ่งชี้ว่าคุณควรขายมันทิ้ง” – Martin Taylor –
ถ้าคุณไม่มีจุดยืน คุณก็ไม่มีแก่นหรือสิ่งใดให้ยึดถือปฏิบัติ ถ้าคุณไม่มีเป้าหมายว่าจะไปที่ใด คุณก็ไม่มีวันไปถึงจุดหมาย… จงกำหนดหลักการ วางแผนการลงทุน และทำตามแผนที่คุณวางไว้เสมอ เพราะถ้าคุณไม่มีแผนการของตนเอง คุณก็จะต้องตกอยู่ในแผนการของคนอื่น
ข้อที่ 2: เข้าซื้อหุ้นไม้ใหญ่เกินไป (Trading too big)
“นักลงทุนมักจะให้ความสำคัญเกือบทั้งหมดไปที่จุดเข้าซื้อ (entry price) ทั้งๆที่โดยส่วนมากแล้ว ขนาดของ lot (entry size ) ในแต่ละครั้งมีความสำคัญกว่าจุดเข้าซื้อ เพราะหาก entry size แต่ละครั้งใหญ่มากเกินไป เวลาที่ราคาปรับตัวลงอย่างไม่มีนัยสำคัญ มันก็มักจะทำให้คุณกลัวและอกออเดอร์ก่อนทั้งที่ยังมีแนวโน้มดีนั้นทิ้งไป ดังนั้น ยิ่งขนาดของ lotใหญ่มากไปเท่าไร ความกลัวจะเข้ามาครอบงำการตัดสินใจของคุณ แทนที่จะตัดสินใจจากแผนการและประสบการณ์ที่พิจารณาอย่างดีแล้ว” – Steve Clark –
การเทรดครั้งเดียวใน lot ที่ถือว่ามีสัดส่วนที่เยอะของพอร์ต จะทำให้คุณขายหมูเพราะความกลัวของคุณ ไม่ใช่เพราะระบบลงทุนของคุณบอกให้ขาย ดังนั้น ก่อนที่จะเทรด คุณควรกำหนดจำนวนเงินที่คุณสามารถยอมรับขาดทุนได้ให้อยู่ในระดับที่ไม่เสี่ยงมากไป ตัวอย่างเช่น เงินในพอร์ตมี 1000$ คุณยอมรับขาดทุนได้ 200$/ครั้ง โดยที่จุดตัดขาดทุนของคุณคือ เมื่อราคาทะลุแนวต้านล่าสุดของเมื่อวานไป
ข้อที่ 3: ซื้อขายมากเกินไป (Overtrading)
การที่เราจะเทรดบ่อยขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับแนวทางการลงทุนของเรา แต่ไม่ว่าคุณจะใช้แนวทางลงทุนแบบไหนก็ตาม การซื้อขายน้อยครั้งย่อมดีกว่าเสมอ (less is more) อย่าเพิ่งเข้าใจผมผิดไป เพราะไม่ว่าคุณจะทำการบ้านหรือเตรียมตัวมาอย่างดีแค่ไหนก็ตาม แต่กราฟนั้นก็มักจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันอยู่บ่อยๆ ดังนั้น คุณควรจะมีไอเดียหรือกราฟที่จะเลือกลงทุนมากกว่า 1 ตัวอยู่เสมอ แต่การที่คุณซื้อๆขายๆในค่าเงินทุกตัวที่เกิดสัญญาณ ทำให้เงินลงทุนและพลังงานของคุณถูกกระจายออกไปในกราฟหลายตัวมากจนเกินไปนั้น คงไม่ใช่การตัดสินใจที่ฉลาดนัก
คุณควรยึดมั่นอยู่กับสิ่งที่คุณรู้และเข้าใจ เลือกใช้วิธีการที่คุณทำแล้วได้ผล อย่าหลงไปตามกระแสข่าวลือหรือการลงทุนที่คุณไม่ได้เปรียบ และหลีกเลี่ยงการลงทุนใดๆก็ตามที่คุณไม่ได้มีความเข้าใจในสิ่งนั้นเลยแม้แต่น้อย
“ในบางครั้ง การเทรดที่ดีที่สุดก็คือ การไม่เทรดเลย และตั้งมั่นอยู่ระบบที่เราถือ” ผมรู้ดีว่าในช่วงตลาดกระทิงดุนั้น มันมีสิ่งที่เย้ายวนใจมากที่จะทำให้คุณเทรดบ่อยครั้ง เมื่อกราฟเกือบทุกตัวขึ้นไปทะลุ High เดิม คุณรู้สึกเหมือนเด็กที่อยู่ในร้านขนมหวานแล้วไม่รู้จะเลือกหยิบขนมชิ้นไหนดี จงเลือกกราฟเพียงไม่กี่ตัวในจังหวะเวลาที่เหมาะสม อย่าพยายามที่จะไล่เทรดทุกตัว เพราะคุณไม่สามารถทำได้ (ยกเว้นว่าคุณเป็นคอมพิวเตอร์!!!)
เบื้องหลังของความผิดพลาดในข้อที่ 2 และ ข้อที่ 3 มักจะเกิดจากความมั่นใจที่มากเกินไปถึงแม้้ว่าความมั่นใจนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการทำตามแผนและระบบลงทุนของคุณ แต่ถ้ามีความมั่นใจที่มากเกินพอดี (Overconfidence) มันจะก่อให้เกิดผลเสีย เพราะความมั่นใจที่มากเกินไปนั้น เป็น 1 ในเหตุผลสำคัญที่ว่า ทำไมนักลงทุนและนักเก็งกำไรที่มีประสบการณ์จึงยังสามารถขาดทุนได้
เมื่อไรก็ตามที่คุณรู้สึกว่า ความสำเร็จของคุณในตลาดมาจากการที่คุณเป็นอัจฉริยะ ไม่ได้มาจากความคิดที่รอบคอบและไตร่ตรองอย่างระมัดระวังในการลงทุน ก็เท่ากับว่าคุณใกล้ถึงเวลาที่จะขาดทุนแล้ว
ข้อที่ 4: เฝ้าดูกราฟมากเกินไป (Watching your stocks too closely)
“การเฝ้ามองกราฟบนหน้าจอทั้งวันนั้น ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆและเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ผมเชื่อว่าการเฝ้าดูทุกคำสั่งซื้อขายจะทำให้คุณขายหมูก่อนเวลาอันควร และ มักทำให้คุณ buy ในราคาที่สูงเกินไปหรือ sell ในราคาที่ต่ำเกินไปของวันนั้น รวมถึงทำการ Overtrading ผมแนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการเฝ้ามองกราฟตลอดเวลา และหันไปทำสิ่งอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการลงทุนและต่อตัวของคุณเองในช่วงเวลาซื้อขาย เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดเหล่านั้น” - Steve Clark –
“หากคุณใช้เวลาอยู่ในร้านตัดผมสักพักหนึ่ง ไม่ช้าก็เร็วคุณจะคิดว่าคุณต้องตัดผม ทั้งๆที่คุณหัวล้าน” – Warren Buffett –
การเฝ้ามองกราฟอย่างใกล้ชิดจะทำให้เกิดผลเสียต่อผลตอบแทนของคุณ เมื่อคุณเข้าเข้าเทรดแล้ว คุณไม่ควรซื้อขายเพียงเพราะเห็นคำสั่งซื้อขายเล็กๆน้อยๆที่สวนทางกับ Position ของคุณ การเฝ้ามองกราฟมากเกินไปนั้น ก็เปรียบเหมือนคุณนั่งอยู่ในร้านเบเกอรี่แสนอร่อยขณะที่คุณกำลังลดความอ้วน ดังนั้น คุณควรหาสิ่งอื่นทำแทนที่จะนั่งเฝ้าดูกราฟทั้งวัน อย่างเช่นการอ่านหนังสือ ออกกำลังกาย หรือ อะไรก็ตามที่ทำให้ไม่ต้องยุ่งกับการดูราคาหุ้นระหว่างวันมากเกินไป หากคุณยังสงสัยอยู่ว่า ก็ผมเป็นเทรดเดอร์แล้วจะไม่ให้เฝ้าหน้าจอได้อย่างไร? ผมขอทิ้งท้ายไว้ด้วยคำคมของ โซรอส นะครับ ลองเอาไปเปรียบเทียบกับการเทรดดู
“ถ้าคุณออกไปทำงานทุกวัน เพียงเพราะคิดว่าคุณต้องทำอะไรซักอย่าง ผลก็คือ มันทำให้คุณมักจะทำสิ่งที่ไม่มีประโยชน์อะไรเพื่อไม่ให้เบื่อไปวันๆ ซึ่งผมคิดว่าคุณควรจะอยู่เฉยๆดีกว่า ปกติแล้วผมจะไปทำงานเฉพาะเวลาที่มีงานให้ทำ ในเวลาที่มันควรค่าแก่การทำจริงๆ ผลก็คือ ผมเรียนรู้ที่จะสามารถแยกแยะได้ว่า วันไหนที่มีงานสำคัญกว่าวันอื่นๆ และรู้ว่าเวลาไหนที่ควรมุ่งมั่นกับงานเป็นพิเศษ”
Credit www.thaiforexschool.com ศ.เกื้อกุล วัยรุ่นพันล้าน
มีคนเขียน สรุปหนังสือ “Beating the Street" ของ Peter Lynch เอาไว้ ผมไปเห็นใน Facebook ของ รู้ทันหุ้นบ่าย เลยขออนุญาตนำมาเก็บไว้ในเว็บตนเองนะครับ อ่านกันได้เลยครับ ยาวมากๆ
คุณจะซื้อหุ้นแบบไหน หุ้นเล็กหรือหุ้นใหญ่ ไม่สำคัญเท่ากับว่าคุณได้ลงทุนในหุ้นแล้ว เพราะประเด็นหุ้นเล็ก หุ้นใหญ่เป็นประเด็นรองจริงๆ วิธีคิด คือ ลงทุนในหุ้นเสียเถอะ ถ้าต้องการผลตอบแทนในระยะยาวที่ดี
ลินซ์กล่าวว่า นักลงทุนมือสมัครเล่นที่สามารถเจียดเวลาเพียงไม่มากนักกับการศึกษาบริษัทในอุตสาหกรรมที่เขามีความรู้จะสามารถเอาชนะผู้จัดการกองทุนได้ แถมมาด้วยความสนุกอีกต่างหาก
ช้อป 20 หุ้นหลบภัย P/E ต่ำ พื้นฐานดีราคามีอัพไซด์ :ยก RML-ANAN-SPALI
เปิดโผ 20 หุ้นหลบภัย P/E ต่ำ มีอัพไซด์ทุกตัว โบรกฯ การันตีพื้นฐานรองรับ RML-ANAN-SPALI-PS เด่นกลุ่มอสังหาฯ ฟากกลุ่มไอซีทีชู JAS-AIT กลุ่มธนาคาร TMB-KTB-KBANK หุ้นก่อสร้าง TRC-SEAFCO หุ้นพลังงาน PTT
จากการสำรวจกลุ่มหุ้นที่มีค่า P/E ต่ำกว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระดับ 19 เท่า โดยเป็นบริษัทที่มีแนวโน้มทำผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 4/57 และภาพรวมปี 2557 เติบโตเป็นอย่างดี มีราคาหุ้นในกระดานต่ำกว่าราคาเป้าหมาย และเป็นหุ้นพื้นฐานที่มีบทวิเคราะห์ของโบรกฯ รองรับ มีอยู่ทั้งหมด 20 บริษัท ได้แก่
10 หุ้นปันผลเด่นจ่ายเกิน 5% ติดกัน 5 ปี
- ASP ปันผล 10.20%
- CM ปันผล 7.75%
- GC ปันผล 7.55%
- KGI ปันผล 10.84%
- LEE ปันผล 7.43%
- MBKET ปันผล 10.88%
- MCOT ปันผล 10.34%
- PATO ปันผล 7.24%
- SSSC ปันผล 7.92%
- TCCC ปันผล 7.59%
เครดิต Money Channel.co.th
เรื่องของการลงทุนนั้น สิ่งที่เราต้องพูดถึงกันเป็นประจำก็คือ “ผลตอบแทนการลงทุน” เพราะนี่คือหัวใจสำคัญที่จะบอกว่านักลงทุนแต่ละคนประสบความสำเร็จแค่ไหน การวัดผลตอบแทนการลงทุนนั้น ถ้าวัดกันด้วยเม็ดเงินที่ลงทุนเพียงครั้งเดียวและในเวลาสั้น ๆ ก็เป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยาก ตัวอย่างเช่น ถ้าตอนต้นปีเรามีเงินลงทุน 1 ล้านบาท พอถึงปลายปีเงินกลายเป็น 1.1 ล้านบาท โดยที่เราไม่ได้ใส่เงินเพิ่มหรือเอาเงินออกมาจากการลงทุนเลย แบบนี้แปลว่าผลตอบแทนเท่ากับ 10% ต่อปี ซึ่งหาได้โดยการเอาจำนวนเงินปลายปีลบด้วยเงินต้นปีหารด้วยเงินตอนต้นปีคูณด้วยร้อย นี่ก็คือการคำนวณหาผลตอบแทนพื้นฐานของ “ผลตอบแทนต่อปี” ที่เราใช้พูดถึงหรืออ้างอิงกันตลอด
นักลงทุนผู้มุ่งมั่นนั้นย่อมไม่ลงทุนเพียงปีเดียวและไม่วัดผลเพียงปีเดียว การลงทุนหลายปีนั้นทำให้เราต้องวัดผลหลายปีแล้วนำมาหาค่า “ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี” เพื่อที่จะนำไปเปรียบเทียบกับค่าผลตอบแทนอ้างอิงต่าง ๆ ได้ แต่ “ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปี” นี้มีวิธีคิดหลายวิธีซึ่งอาจจะให้ผลที่แตกต่างกันมากจนทำให้เราเข้าใจผิดนึกว่าเราทำผลงานได้ดีทั้งที่ผลงานเราไม่ได้เรื่องก็เป็นได้ ลองมาดูกันว่ามีวิธีคิดผลตอบแทนเฉลี่ยแบบไหนบ้างและเราควรเลือกใช้วิธีไหน
กำลังนั่งคิดอยู่ว่า ตอนนี้ราคาน้ำมันโลกลดลงเยอะ เหตุหนึ่งที่รู้คืออเมริกาสามารถสกัดน้ำมันจากหินน้ำมันได้ในต้นทุนที่ต่ำจนคุ้มทุนที่ 50$/บาเรล ทำให้ลดปริมาณการซื้อจากต่างประเทศไปได้เกือบครึ่ง (ลดลงถึง 8 ล้านบาเรลต่อวัน) น้ำมันก็เลยล้นตลาด
แล้วผลกระทบที่เกิดขึ้นคืออะไร เช่น จะมีการใช้ในำมันเพิ่มขึ้นไหม? ยอดการผลิตและขายเอธิลจะเพิ่มขึ้นไหม? หรือธุรกิจพลาสติกจะมีผลอย่างไร ต้นทุนจะลดลงไหม?