หุ้น 6 ประเภท ของ ปีเตอร์ ลินช์
หุ้น 6 ประเภทจากหนังสือ One up on wall street ของ Peter Lynch ในรูปแบบ Mind map เพื่อให้ง่ายต่อการทบทวนและจดจำเพื่อนำไปใช้..(ควรอ่าน)
หุ้น 6 ประเภท ของ ปีเตอร์ ลินช์
จากประสบการณ์ของปีเตอร์ ลินช์ เขาบอกว่าหุ้นแต่ละประเภทมีนิสัยเฉพาะตัวของมัน ก่อนลงทุนเราควรจะรู้ว่าหุ้นที่เราซื้อเป็นหุ้นประเภทไหน ท้ายที่สุดก็แยกออกมาได้ 6 ประเภท ได้แก่
1.หุ้นโตช้า
จะอยู่ในอุตสาหกรรมที่ใกล้จุดอิ่มตัว มักจะเป็นธุรกิจที่เก่าแก่ ซึ่งในอดีตวงจรของมันก็เคยเป็นหุ้นโตเร็วมาก่อน นายลินช์ ยกตัวอย่างธุรกิจไฟฟ้า ไม่ใช่โตช้าแล้วจะเจ๊ง แต่ราคาหุ้นจะขยับไปได้ไม่ไกล ถ้าบริษัทไม่ขยายงานเพิ่ม เราจึงซื้อ Growth กับบริษัทเหล่านี้ได้ยาก
ส่วนอีกธุรกิจหนึ่งที่นายลินช์ ยกตัวอย่างคือ ธุรกิจรถไฟ ธุรกิจโรงเหล็ก หรือแม้แต่บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง ไอบีเอ็ม เขาก็บอกว่าเป็นหุ้นโตช้า นายลินช์มีวิธีให้สังเกต บริษัทเหล่านั้นมักจะจ่ายเงินปันผลในอัตราที่สูง และจ่ายสม่ำเสมอ
ข้อสังเกตของเขาอยู่ตรงนี้ว่า บริษัทไหนที่จ่ายปันผลสูง แสดงว่าบริษัทนั้นไม่มีวิธีใหม่ในการขยายงาน เพราะหากบริษัทเฉลียวฉลาดพอจะต้องคิดหาวิธีขยายกิจการเพื่อเสริมสร้างฐานะของตัวเองให้มั้นคงยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม นายลินช์ไม่ได้ด่วยสรุปว่า บริษัทที่จ่ายปันผลสูงและสม่ำเสมอไม่น่าลงทุน เพราะบางปีเศรษฐกิจไม่ดีเอาเงินมาจ่ายปันผลดีกว่า ถ้าไปเจอหุ้นราคาต่ำจ่ายปันผลงามลงทุนหุ้นอย่างนี้อาจจะรับโชค 2 ชั้นด้วยซ้ำไป
ส่วนลึกๆแล้ว นายปีเตอร์ ลินช์ แกพูดมาโจ้งๆเลยว่าแก ไม่ชอบหุ้นปันผล เพราะมีอคติด้านลบว่าผู้บริหารบริษัทนั้น คงคิดอะไรไม่ออกแล้วที่จะเอาเงินไปขยายงาน ถ้าแกขืนซื้อหุ้นบริษัทนั้นแล้วเก็บเอาไว้ระยะยาว เสี่ยงพอสมควร บทสรุปของนายลินช์ คือ บริษัทไหนก็ตามที่มีอัตราการเติบโต 2 4 % ต่อปี เขาจะไม่แตะต้องหุ้นประเภทนี้โดยให้เหตุผลว่า ผมจะไปเสียเวลาอยู่กับบริษัทที่โตช้าแบบนี้ทำไม
2.หุ้นยักษ์ใหญ่
เป็นหุ้นที่นายปีเตอร์ ลินช์ บอกว่า สามารถทำกำไรให้แก่นักลงทุนได้พอสมควร ถ้าหากซื้อในจังหวะที่ดี พร้อมยกตัวอย่างเช่นหุ้น โคคา-โคลา พรอคเตอร์ แอนด์ แกมบิล หรือ บริสตอลไมเยอร์ อัตราการเติบโตของหุ้นพวกนี้ 10 12 % ต่อปีก็หรูแล้ว
นายลินช์ ตั้งข้อสังเกตว่า หุ้นยักษ์ใหญ่โอกาสจะทำกำไร 1 2 เท่าตัวในระยะเวลาสั้นๆเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายเลย จึงมีข้อเสนอแนะว่า หุ้นบริษัทยักษ์ใหญ่ ถ้าราคาหุ้นขึ้นมา 50% ในช่วง 1 2 ปี ก็ควรจะพิจารณาขายหุ้นตัวนี้ออกไปได้แล้ว เพราะการเล่นหุ้นยักษ์ใหญ่คงจะทำให้คุณเป็นมหาเศรษฐได้ยาก กฎการลงทุนของ นายปีเตอร์ ลินช์ หากเขาคิดจะลงทุนบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ว่านี้ เขาจะหวังกำไรในช่วง 30 50 % หรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือ อย่าโลภมาก กับหุ้นพวกนี้
ทำไมต้องลงทุนในหุ้นยักษ์ใหญ่ ข้อนี้นายลินช์ บอกว่า ช่วงที่เศรษฐกิจถดถอย หุ้นยักษ์ใหญ่จะเข็มแข็งกว่าประเภทอื่นๆ โดยยกประสบการณ์ช่วงปี 1981 1982 ช่วงทีเศรษฐกิจสหรัฐฯย่ำแย่มาก หุ้น โคคา โคลา กับหุ้น พรอคเตอร์ แอนด์ แกรมเบิล แค่ทรงแต่ไมถึงกับทรุด ในพอร์ตใหญ่ๆ จึงจำเป็นต้องถือหุ้นตัวใหญ่เอาไว้ด้วย
ถ้าเป็นยุคนี้จะเรียกหุ้นพวกนี้ว่า Defensive Stock ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกิจการสาธารณูปโภค พลังงาน ต่อให้เศรษฐกิจตกต่ำเพียงใด คนก็ยังใช้ไฟฟ้า หรือ หุ้นในอุตสาหกรรมอาหาร หรือบริษัทยา ที่เป็นสิ่งจำเป็น ในการดำรงชีวิต
3.หุ้นโตเร็ว หรือประเภท Growth Stock
นายลินช์ แกบอกว่าหุ้นประเภทนี้ตลาดหุ้นไหนๆในโลกก็ชอบ แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าเป็นหุ้นโตเร็ว ก็ให้ดูกำไรโตขึ้น 20 50 % ต่อปี (โตขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายปีติดต่อกัน) ส่วนใหญ่จะเป็นกิจการขนาดเล็ก หรือ กลาง หุ้นพวกนี้นี่แหละที่จะทำกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ
ข้อสังเกตของนายปีเตอร์ ลินช์ บอกว่าหุ้นโตเร็วไม่จำเป็นต้องอยู่ในอุตสาหกรรมที่โตเร็วเสมอไป และหุ้นที่มักจะทำกำไรได้มาก มักจะเป็นหุ้นโตเร็วที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่โตช้าเสียด้วย ถ้าใครจับถูกตัวถือว่า แจ๊คพ็อต แตกแน่
นายลินช์ ยกตัวอย่างหุ้น แมร์เรียท ที่อยู่ในอุตสาหกรรมโรงแรมที่จัดอยู่ในธุรกิจโตช้า แต่บริษัทนี้กลับโตขึ้นเร็วมากปีละ 20% หุ้น วอลมาร์ท ร้านค้าปลีกเล็กๆ ที่โตขึ้นอย่างรวดเร็ว หุ้น ทาโก เบลล์ ร้านอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด หรือหุ้น คอย ธุรกิจขายเสื้อผ้ารายย่อย หุ้นพวกนี้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ตามต้องไม่ลืมว่า อะไรที่โตเร็วเกินไปก็ใช่ว่าจะดี เพราะถ้าไปเจอหุ้นที่โตเร็วแต่เผอิญ สายป่านสั้น คือมีเงินทุนน้อย แต่คิดการณ์ใหญ่ นายลินช์เตือนให้ระวัง ระวัง บริษัทพวกนี้มักจะหมุนเงินไม่ทันหายนะจะมาเยือนในไม่ช้า
ปีเตอร์ ลินช์ เล่าประสบการณ์ให้ฟังว่า บริษัท ดาวน์ เคมีคอล กระโดดเข้าสู่ธุรกิจพลาสติกช่วงแรกเฟื่องฟูมาก พอธุรกิจทำท่าจะมีอนาคตก็มีคนแห่เข้ามาในธุรกิจนี้ ไม่นานราคาหุ้นก็ตกต่ำ และอนาคตธุรกิจนี้ก็ดับวูบลงอย่างรวดเร็ว หรืออย่างธุรกิจ พรม ครั้งหนึ่งคนอเมริกันเห่อกันมาก แต่เล้วธุรกิจนี้ก็ตายลงอย่างรวดเร็ว เพราะคนหันไปใช้ ปาร์เกต์แทน
กฎอีกข้อหนึ่งของนายลินช์จึงบอกว่าหุ้นโตเร็วมีสิทธิตายเร็วได้เหมือนกันหากว่าธุรกิจประเภทนั้น ไม่สามารถขยายงานต่อไปได้อีก ทีเด็ดที่นายปีเตอร์ ลินช์ เขาบอกก็คือ เมื่อซื้อหุ้นโตเร็วแล้ว ให้เราสังเกตผลการดำเนินงานของบริษัทอย่างใกล้ชิด เมื่อไรที่เห็นว่า กำไรเริ่มอืด ให้รีบขายทิ้งทันที
4.หุ้นวงจร หรือที่เรียกว่า Cyclical Stock
ลักษณะธุรกิจจะขึ้นๆลงๆ ตามวงจรอุตสาหกรรม หรือตามนโยบายของรัฐบาล เช่น ในอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง ปิโตรเคมี เยื่อกระดาษ และสินค้าฟุ่มเฟือย แม้แต่อุตสาหกรรมรถยนต์ก็เป็นหุ้นวงจรเหมือนกัน นายลินช์ แกบอกว่า หุ้นวงจรมักจะมียอดขายและกำไรขึ้นลงตามภาวะเศรษฐกิจด้วย ดังนั้น ใครที่จะเล่นหุ้นประเภทนี้ต้องใจเย็นๆ ช่วงที่อุตสาหกรรมบูมราคาหุ้นก็ดีใจหาย ช่วงตกต่ำราคาหุ้นก็ตกต่ำจนเตี้ยติดดิน นายลินช์ จึงแนะนำว่า ถ้าจะเล่นหุ้นวงจร สำคัญที่สุดคือ จังหวะ เวลา
5.หุ้นตีกลับ หรือที่เรียกกันว่า Turnaround Stock
ก่อนที่จะมาเป็นหุ้นตีกลับ มักจะเป็นหุ้นที่ย่ำแย่มาก่อน บางครั้งราคาหุ้นตกต่ำจนน่าสยดสยองทีเดียว เรียกว่าตกจาก ยอดดอย มาสู่ หุบเหว เลยทีเดียว ช่วงที่น่าลงทุนที่สุดก็คือ ช่วงที่เริ่มไต่ขึ้นมาจากหุบเหวนี้แหละ
หุ้นตีกลับบางครั้ง นายปีเตอร์ ลินช์ แกเรียกว่า หุ้นแมวเก้าชีวิต อย่างหุ้นเพนน์ เซ็นทรัล บริษัทที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยายนานหลายทศวรรษ วันดีคืนดีบริษัทนี้เกิดเจ๊งไปเฉื่อยๆ พอปรับโครงสร้างหนี้อะไรเสร็จอยู่ๆก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมา หุ้นอย่างนี้ที่นายลินช์บอกว่า จะทำให้รวยไม่รู้เรื่อง
หุ้นฟอร์ด หรือหุ้นไครสเลอร์ ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของสหรัฐฯก็เป็นหุ้นตีกลับ ช่วงที่ราคาหุ้นตกต่ำ ทำเอาคนอเมริกันเป็นไข้จับสั่นไปไม่น้อย แต่นายปีเตอร์ ลินช์ เขากลับรวยมาจากหุ้นพวกนี้ เพราะตอนที่เจ้าหุ้นไครสเลอร์ตกต่ำเหลือ 6เหรียญในปี 1982 แกช้อนซื้อเอาไว้แบบไม่สนใจคำเตือนของใครทั้งสิ้น เพียง 2ปี ราคาหุ้นตีกลับขึ้นมาที่ 30 เหรียญ ซึ่งตอนนั้นแกได้กำไรแล้ว 5เท่า อีก 3ปีต่อมาราคาหุ้นไครสเลอร์ขึ้นไปถึง 90เหรียญ
นายลินช์ แกบอกว่าตอนซื้อที่ 6เหรียญ ราคามันยังร่วงไปกว่านี้อีก ตอนนั้นในใจแกคิดตลอดว่ามีเงินเท่าไรจะกว้านซื้อไว้ให้หมด เชื่อไม่ครับ ตอนนั้นหุ้นไครสเลอร์ตกลงมาเหลือหุ้นละ 1.5 เหรียญ แต่สุดท้ายนายปีเตอร์ ลินช์ แกก็ไม่กล้าเสี่ยงซื้อเพิ่ม แค่นี้ก็ทำให้เขาได้กำไรมหาศาลจากหุ้น 2ตัว คือ หุ้นไครสเลอร์ กับหุ้นเพนน์ เซ็นทรัล แกได้แง่คิดว่า หุ้นที่เสี่ยงมาก โอกาสได้กำไรก็มากไปด้วย นอกจากนี้ยังชอบเสาะหาหุ้นตีกลับ และสะสมหุ้นพวกนี้ตอนราคาต่ำๆ โดยเฉพาะถ้าแกมองว่าบริษัทไม่เจ๊งเป็นแน่แท้ แต่มีนักวิเคราะห์ออกมาตีโพยตีพายจะเป็นจะตาย เขาจะไม่เป็นพวกกระต่ายตื่นตูมไปด้วย นี่แหละเคล็ดลับที่ทำให้แกประสบความสำเร็จเหนือคนอื่น
6.หุ้นสินทรัพย์
นายปีเตอร์ ลินช์ เขาจะเรียกว่าหุ้น กินบุญเก่า เป็นประเภทซ่อนสินทรัพย์เก่าเอาไว้เยอะ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของเงินสด หุ้นที่ดิน หรืออาคารที่ก่อสร้างสมัยก่อน แต่วันนี้ทวีค่าเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว
นายลินช์ ยกตัวอย่างหุ้น เทเบิล ดิช เมื่อปลายปี 1976 ราคาหุ้นตัวนี้ซื้อขายกันที่ 14เหรียญ มีหุ้นกระจายมาน้อยแค่ 1.7 ล้านหุ้น หมายความว่าทั้บริษัทมีมุลค่ารวมประมาณ 24 ล้านเหรียญ ต่อมาบริษัททเวนตี้ เซ็นจูรี่ ฟอกซ์ ก็ประกาศขายทรัพย์สินชิ้นหนึ่งของบริษัทนี้ได้เงินมา 30 ล้านเหรียญ แถมยังเหลือที่ดินอีกกว่า 2.7พันเอเคอร์ โรงแรมอีก 1หลัง และสนามกอล์ฟอีก 2 สนามเรียกว่า คุ้มเกินคุ้ม
ปีเตอร์ ลินช์ แนะนำว่า ยังมีบริษัทอีกมากมายที่มีสินทรัพย์ซ่อนเร้นอยู่แล้วไม่มีใครรู้ ถ้าไปเจอมูลค่าหุ้นต่ำกว่ามูลค่าสินทรัพย์ที่บริษัทนั้นถืออยู่มากๆ แสดงว่าคุณกำลังเจอของดีเข้าให้แล้ว
Cr : Stock2morrow
ืที่มา ThanawanPanthachotFanPage
Relate topics
- ตัวแปรสำคัญที่สามารถจะอธิบายถึงลักษณะผลตอบแทนของบัฟเฟตต์
- บริษัทดี ๆ ที่มี ROE มากกว่า 25% ในปี 2557
- 3 ตัวช่วย รวยด้วยหุ้นเทคนิค จาก ออมมันนี่
- 4 ความผิดพลาดซ้ำซากในการเทรด
- สรุปหนังสือ “Beating the Street" ของ Peter Lynch โดย รู้ทันหุ้นบ่าย
- ช้อป 20 หุ้นหลบภัย P/E ต่ำ พื้นฐานดีราคามีอัพไซด์ :ยก RML-ANAN-SPALI
- 10 หุ้นปันผลเด่นจ่ายเกิน 5% ติดกัน 5 ปี
- งบ-ผลประกอบการอย่างย่อของทุกบริษัทในไตรมาส 3
- วิธีคำนวณผลตอบแทน - ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
- ผลจากราคาน้ำมันลดลง
- เจ้ามือกับรายย่อย
- หุ้นที่มีผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงสุด 10 อันดับแรกของปี 2009-2014
- เข็มทิศลงทุน
- คำสอนนักลงทุน จาก ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
- หุ้นจ่ายปันผลสูง ปี 57
- หมัดน๊อก 35 หมัดบนสังเวียนชีวิตที่ผมชกมา 29 ปี ของ วอน์เรน บัฟเฟต
- วิถีมหาเศรษฐี
- หุ้นถูก PE และ PBV ต่ำกว่าตลาด เดือนสิงหาคม 2557
- "หุ้น 10 เด้ง" ของ...ปีเตอร์ ลินช์
- เทคนิคหาหุ้น 10 เด้ง แบบ Rakesh Jhunjhunwala เจ้าของฉายา Warren Buffet แห่ง India